แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

กำเนิดมนุษย์ในแอฟริกา

กำเนิดมนุษย์ในแอฟริกา
มีคำถามมากมายว่า มนุษย์ยุคแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร  เนื่องจากในยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีการเป็นบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต โดยทำร่วมกันเป็นคณะบุคคล ใช้วิธีการวิจัยแบบต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น มนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร  นักค้นหาในยุคปัจจุบันได้หาความรู้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมนุษย์และวิถีดำเนินชีวิตของมนุษย์ไว้มากมายอย่างน่าทึ่ง แต่ภาพรวมของยุคก่อนประวัติยังไกลเกินกว่าที่จะรวบรวมให้สมบูรณ์ได้

การค้นคว้าแหล่งกำเนิดมนุษย์ของนักวิทยาศาสตร์            ข้อมูลที่เขียนบันทึกไว้นำทางไปสู่อดีตอันยาวไกล  เป็นเวลาหลายาพันปีที่มนุษย์มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อ กิจกรรม และเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ  แต่อย่างไรก็ตาม ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการเขียนบันทึกเป็นลักษณ์อักษร ก็ต้องย้อนเวลาไปอย่างคร่าว ๆ ประมาณ 5,000 ปี  เมื่อปราศจากการเข้าถึงข้อมูลที่เขียนบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  นักวิทยาศาสตร์หลายคนที่สืบค้นวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็เผชิญกับการท้าทายเป็นพิเศษ

ร่องรอยทางวิทยาศาสตร์
  นักโบราณคดี คือ
           นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ได้รับการอบรมมาเป็นพิเศษคล้ายกับนักสืบ เพื่อเปิดเผยเรื่องราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
  นักโบราณคดีจะศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ยุคแรกด้วยการขุดค้นและศึกษาร่องรอยของการตั้งหลักแหล่งในยุคแรก ๆ  แหล่งโบราณคดี เรียกว่า การขุดค้นทางโบราณคดี จะจัดเตรียมแหล่งข้อมูลที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยร่องรอยวิถีดำเนินชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ไว้แหล่งหนึ่ง นักโบราณคดีจะล่อนดินเป็นกองเล็ก ๆ แล้ววิเคราะห์หลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น กระดูกและสิ่งประดิษฐ์ กระดูกอาจจะแสดงให้เห็นว่าผู้คนมองดูเหมือนอะไร สูงเท่าไร ชนิดอาหารที่รับประทาน โรคที่อาจะมี และอายุยืนเท่าไร  สิ่งประดิษฐ์คือวัตถุมนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องมือและเครื่องประดับ  สิ่งเหล่านี้อาจจะบอกได้ว่าผู้คนแต่งตัวอย่างไร ทำการงานอะไร หรือเคารพสิ่งเคารพชนิดใด
นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า นักมานุษยวิทยา จะศึกษาทางด้านวัฒนธรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะของผู้คน นักมานุษยวิทยาจะตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์ที่แหล่งขุดค้นทางโบราณคดี แล้วสร้างภาพพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของผู้คนยุคแรกขึ้นมาใหม่
นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่เรียกว่า นักบรรพชีวิน (นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือซากฟอสซิล)  จะศึกษาฟอสซิล ซึ่งเป็นหลักฐานของชีวิตยุคแรกที่เก็บรักษาไว้ในหิน ซากฟอสซิลของมนุษย์ส่วนมากจะประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของฟัน กะโหลกศีรษะหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ นักบรรพชีวินจะใช้เทคนิคที่ซับซ้อนเพื่อนับอายุซากฟอสซิลและก้อนหินยุคดึกดำบรรพ์ นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา นักบรรพชีวิน และนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ จะทำงานกันเป็นทีมเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

การค้นพบรอยเท้าในยุคแรก
  ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 นักโบราณคดี ชื่อ แมรี  ลีกคี (Mary Leakey)  ได้นำคณะสำรวจทางวิทยาศาสตร์ไปยังบริเวณที่ชื่อว่า เลโตลี (Laetoli) ในประเทศแทนซาเนียในแอฟริกาตะวันออก (ดูแผนที่) ณ ที่นั่นเธอและทีมงานได้ค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับต้นกำเนิดของมนุษย์   ในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) คณะของลีกคีได้พบรอยเท้ายุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งคล้ายกับมนุษย์สมัยใหม่ที่เก็บรักษาไว้ในเถ้าภูเขาไฟ


รอยเท้าเหล่านี้สร้างขึ้นโดยสิ่งมีชีวิตที่ปัจจุบันเรียกว่า ออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines)   มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งเดินตัวตรงเช่น australopithecines จะเรียกกันว่า hominids (วงศ์ลิงใหญ่)

การค้นพบ"ลูซี่"  ในขณะที่แมรี ลิกคี กำลังทำงานอยู่ในแอฟริกาตะวันออก นักมานุษยวิทยาชาวสหรัฐ ชื่อ โดนัลด์  โจแฮนสัน (Donald Johanson) และทีมงานก็กำลังค้นหาฟอสซิลเหมือนกัน คณะของโจแฮนสันกำลังทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีในเอธิโอเปีย ทางทิศเหนือ ประมาณ 1,000 ไมล์ (ประมาณ 1,600 กิโลเมตร) ในปี 1974 (พ.ศ. 2517) ทีมงานของโจมแฮนสันได้มีการค้นพบอย่างน่าทึ่ง  นั่นคือโครงกระดูกของมนุษย์ hominid เป็นผู้ใหญ่เพศหญิงมีความสมบูรณ์อย่างผิดปกติ จึงได้ตั้งชื่อเล่นให้กับเธอว่า "ลูซี่" ตามชื่อเพลง " Lucy in the Sky with Diamonds" เธอมีชีวิตอยู่ประมาณ 3.5 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็น hominid ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมนุษย์ค้นพบในขณะนั้น

โฮมินิดส์เดินตัวตรง ลูซี่และโฮมินิดส์ ซึ่งได้ทิ้งรอยเท้าไว้ในแอฟริกาตะวันออกเป็นสายพันธุ์ของออสตราโลพิเธซิน การเดินตรงช่วยให้พวกเขาเดินทางไกลได้ง่ายขึ้น พวกเขายังมีความสามารถที่จะจดจำเสียงขู่ของสัตว์และนำอาหารกับลูก ๆ ไปกับตัวได้
โฮมินิดส์ยุคแรกนี้มีวิวัฒนาการหัวแม่มือเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งหมายความว่า   ปลายหัวแม่มือสามารถลูบคลำนิ้วอื่น ๆ ได้ (นิ้วอื่น ๆ ทำไม่ได้ เช่น ปลายนิ้วชี้ด้านหน้าไม่สามารถเอาไปลูบคลำนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยได้ เป็นต้น)  หัวแม่มือสำคัญมากสำหรับใช้งานต่าง ๆ เช่น การยกวัตถุขนาดเล็กและการทำเครื่องมือ เป็นต้น

เริ่มยุคหินเก่า (
Old Stone Age)
การประดิษฐ์เครื่องมือ การใช้ไฟและการพัฒนาภาษาเป็นความสำเร็จที่น่าประทับมากอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เรียกว่ายุคหิน เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก บางส่วนก่อนหน้านี้และต่อมายาวนานในยุคหิน เรียกว่า ยุคหินเก่า หรือ Paleolithic Age มีอายุตั้งแต่ประมาณ 2.5 ล้านปี ถึง 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล  เครื่องมือหินสำหรับสับที่เก่าที่สุดมีอายุนับย้อนไปถึงยุคนี้ ยุคหินใหม่หรือยุค Neolithic Age  เริ่มประมาณ 8,000 ก่อนคริสตกาล และสิ้นสุดเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลในบางพื้นที่  ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคหินระยะที่สองนี้รู้จักใช้เครื่องมือขัดหินแล้ว เรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผา ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
ส่วนมากยุคหินเก่าเกิดขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์โลกที่รู้จักกันว่า ยุคน้ำแข็ง (Ice Age) ในช่วงนี้ ธารน้ำแข็งขยายขึ้นและลวดลงมากเท่ากันถึง 18 ครั้ง สิ้นสุดยุคน้ำแข็ง เมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา  โดยจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ ธารน้ำแข็งได้ลดลงไปประมาณคร่าว ๆ เท่ากับพื้นที่ที่มีน้ำแข็งในปัจจุบันนี้

มนุษย์
Homo habilis น่าจะมีการใช้เครื่องมือ  ในที่สุด ก่อนมนุษย์ australopithecines จะหายไป มนุษย์ hominids พวกใหม่ก็ปรากฏขึ้นในแอฟริกาตะวันออก ประมาณ 2.5 ล้านปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) นักโบราณคดีชื่อ หลุยส์และแมรี่ลีกคี (Louis and Mary Leakey) ได้ค้นพบฟอสซิลมนุษย์ hominids  ที่โอลดูไวยอร์ช (Olduvai Gorge)  ในภาคเหนือของประเทศแทนซาเนีย   ลีกคีสองสามีภรรยา ได้ตั้งชื่อฟอสซิล  Homo habilis  ซึ่งหมายความว่า “มนุษย์ผู้มีความสามารถในการใช้มือ (man of skill)”   ลีกคีสองสามีภรรยาและนักวิจัยอื่น ๆ ได้พบเครื่องมือที่ทำจากหินลาวา พวกเขาเชื่อว่า มนุษย์ Homo habilis ใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อสับเนื้อสัตว์และกะเทาะกระดูกออก   เครื่องมือได้สร้างภารกิจแห่งการอยู่รอดปลอดภัยได้ง่ายขึ้น


มนุษย์ Homo erectus พัฒนาเทคโนโลยี  ประมาณ 1.6 ล้านปีที่ผ่านมา ก่อนที่มนุษย์ Homo habilis จะสูญพันธุ์  มนุษย์ hominids  อีกสายพันธุ์หนึ่งก็ปรากฏในแอฟริกาตะวันออก ปัจจุบัน มนุษย์สายพันธุ์นี้ รู้จักกันว่า มนุษย์ Homo erectus หรือ "มนุษย์ที่ยืนตรง (upright man)"  นักมานุษยวิทยาบางพวก เชื่อว่า มนุษย์ Homo erectus  เป็นสายพันธุ์ที่ฉลาดมากขึ้นและปรับตัวได้ดีกว่า มนุษย์ Homo habilis   มนุษย์ Homo erectus  ใช้ปัญญาในการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นวิธีการใช้ความรู้ เครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง  มนุษย์ hominids เหล่านี้ ค่อย ๆ กลายเป็นนักล่าที่มีทักษะและได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นสำหรับการขุด การขูดและการตัด ในที่สุด พวกเขาก็กลายเป็นมนุษย์ hominids  พวกแรกที่อพยพโยกย้ายจากทวีปแอฟริกา ฟอสซิลและเครื่องมือหิน แสดงให้เห็นว่า นักล่าพวก Homo erectus  ได้ตั้งรกรากอยู่ในประเทศอินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป
ตามความเห็นของนักมานุษยวิทยา มนุษย์ Homo erectus  เป็นมนุษย์พวกแรกที่ใช้ไฟ ไฟให้ความอบอุ่นในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ปรุงอาหารให้สุกและขับไล่สัตว์ที่จะมาทำร้ายออกไป การควบคุมไฟได้ยังอาจช่วยให้มนุษย์ Homo erectus  ตั้งดินแดนใหม่             
มนุษย์ Homo erectus  อาจจะมีวิวัฒนาการริเริ่มภาษาพูด  ภาษา เช่น เทคโนโลยีอาจทำให้มนุษย์ Homo erectus ควบคุมสภาพแวดล้อมได้มากขึ้นและเพิ่มอกาสในการอยู่รอด การทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องมีการวางแผนการล่าสัตว์และการให้ความร่วมมือในงานอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะอาศัยภาษา มนุษย์ Homo erectus  อาจจะตั้งชื่อวัตถุ สถานที่ สัตว์และพืชตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิด

การปรากฏขึ้นครั้งแรกของมนุษย์สมัยใหม่
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ในที่สุด มนุษย์ Homo erectus  ก็มีวิวัฒนาการไปเป็นมนุษย์ Homo sapiens  ซึ่งเป็นชื่อสายพันธุ์ของมนุษย์สมัยใหม่  มนุษย์  Homo sapiens  หมายความว่า "คนฉลาด หรือ ผู้รู้" ในขณะที่พูดถึงทางด้านกายภาพ มนุษย์ Homo sapiens ก็คล้ายมนุษย์ Homo erectus   มีสมองขนาดใหญ่มาก
ตามแบบแผนแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้จัดมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthals) และมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnons) ไว้ในกลุ่มมนุษย์ Homo sapiens ยุคแรก อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) การทดสอบดีเอ็นเอ (DNA) โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล แสดงว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ได้รับผลกระทบจากการปรากฏขึ้นของมนุษย์โครมันยอง ที่อาจจะมีการแข่งขันกันแย่งที่ดินและอาหารกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล

วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล         
                ในปี ค.ศ. 1856 (พ.ศ. 2399) ในขณะที่คนงานเหมืองกำลังขุดหินปูนในหุบเขานีแอนเดอร์ (Neander Valley) ประเทศเยอรมนี คนงานเหล่านั้นได้พบเศษกระดูกฟอสซิล กระดูกเหล่านี้เป็นซากของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ซึ่งมีการค้นพบกระดูกในที่อื่น ๆ ในยุโรปและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ คนเหล่านี้ถูกสร้างมาให้มีความแข็งแรง พวกเขามีคิ้วหนาเอียง กล้ามเนื้อมีการพัฒนามาเป็นอย่างดีและกระดูกหนา  สำหรับหลาย ๆ คน ชื่อ "นีแอนเดอร์ธัล" ทำให้นึกถึงภาพการ์ตูนล้อเลียนของมนุษย์ถ้ำที่มาอยู่รวมกัน   แต่การค้นพบทางโบราณคดีเผยให้เห็นภาพที่สมจริงมากขึ้นของมนุษย์ hominids ยุคแรกเหล่านี้ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 200,000 และ 30,000 ปีที่ผ่านมา                                
             หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลพยายามที่จะอธิบายและควบคุมโลกของตนเอง พวกเขาได้พัฒนาความเชื่อทางศาสนาและการทำพิธีกรรม ประมาณ 60,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีการจัดงานศพให้กับคนในถ้ำชานิดาร์ (Shanidar Cave) ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิรัก นักโบราณคดีบางพวก มีความเห็นว่า ในระหว่างงานศพ ครอบครัวของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ได้เอาดอกไม้ปกคลุมร่างกายของเขา งานศพนี้ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อในโลกหน้าหลังจากสิ้นชีวิต   

        มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลยังเต็มไปด้วยความคิดริเริ่มและสามารถแก้ปัญหาได้ดีอีกด้วย พวกเขามีชีวิตอยู่รอดมาได้จากความหนาวเหน็บอันรุนแรงในยุคน้ำแข็ง โดยอาศัยอยู่ในถ้ำหรือที่พักพิงชั่วคราวที่ทำจากไม้และหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ที่พบกับฟอสซิลของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการล่าของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลในภูมิภาคซับอาร์กติกของยุโรป พวกเขาทำใบมีดหิน  เหล็กขูดและเครื่องมืออื่น ๆ สำหรับหั่นและถลกหนังเหยื่อ มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีชีวิตอยู่รอด เป็นเวลา 170,000 ปีเล็กน้อย และแล้วก็หายไปอย่างลึกลับประมาณ 30,000 ปีที่ผ่านมา

การปรากฏตัวของมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnons)          
         ประมาณ 40,000 ปีที่ผ่านมา กลุ่มของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่เรียกว่า โครมันยอง (Cro-Magnon) ได้ปรากฏ ซากโครงกระดูกของมนุษย์โครงมันยองแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับมนุษย์สมัยใหม่ ซากโครงกระดูกยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะมีความแข็งแรงและโดยทั่วไปมีความสูงประมาณห้าฟุตครึ่ง  มนุษย์โครมันยองได้อพยพจากตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาไปสู่ยุโรปและเอเชีย                            มนุษย์โครมันยอง สร้างเครื่องมือใหม่ ๆ จำนวนมากที่มีการใช้งานเฉพาะทาง พวกเขาแตกต่างจากมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล มีการวางแผนการล่าสัตว์ รู้จักศึกษานิสัยของสัตว์และเดินย่างเข้าไปใกล้เหยื่อ เห็นได้ชัดว่า กลยุทธ์การล่าสัตว์ที่เหนือกว่าของมนุษย์โครมันยองทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่รอดได้ง่ายขึ้น ข้อนี้อาจทำให้ประชากรของมนุษย์โครมันยองเพิ่มอัตราอย่างรวดเร็วเล็กน้อยและในที่สุดก็เข้ามาแทนที่มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล  ทักษะขั้นสูงในภาษาพูดของมนุษย์โครมันยอง น่าจะช่วยให้พวกเขามีการวางแผนโครงการที่ยากขึ้น ความร่วมมือนี้อาจจะทำให้พวกเขาเข้าแทนที่มนุษย์โครมันยอง

การค้นพบใหม่ ๆ เพิ่มความรู้ใหม่ ๆ       
นักวิทยาศาสตร์ทำงานอย่างต่อเนื่องในหลายสถานที่ในทวีปแอฟริกา การค้นพบของพวกเขาเปลี่ยนมุมมองพวกเราเกี่ยวกับภาพที่ยังคงสมบูรณ์ของแหล่งกำเนิดมนุษย์ในแอฟริกาและการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ยุคแรกออกจากทวีปแอฟริกา

ซากฟอสซิล เครื่องมือ และจิตรกรรมผนังถ้ำ    ฟอสซิลที่ค้นพบใหม่ ๆ ในประเทศชาด (Chad) และเคนยา (Kenya) ย้อนหลังไปเมื่อ 6 และ 7 ล้านปี มีลักษณะเด่นบางอย่างคล้ายลิงเอป แต่ยังมีบางส่วนที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ hominids การศึกษาฟอสซิลเหล่านี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่หลักฐานยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะเป็นมนุษย์ hominids  ยุคแรกสุด ขากรรไกรอายุ 2.33 ล้านปี จากประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) เป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ เครื่องมือหินที่พบในที่เดียวกันชี้ให้เห็นว่า การสร้างเครื่องมืออาจจะเริ่มขึ้นเร็วกว่าที่คิดกันมาก่อนหน้านี้                   การค้นพบใหม่นี้ยังได้เพิ่มพูนสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วเกี่ยวกับผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ทีมงานของนักวิจัยจากแคนาดาและสหรัฐอเมริการวมทั้งนักเรียนไฮก์สคูลจากนิวยอร์ก ได้ค้นพบขลุ่ยกระดูกของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลอายุ 43,000 - 82,000 ปี การค้นพบนี้บอกให้ทราบถึงความสามารถซึ่งเป็นพรสวรรค์ของการแสดงออกทางดนตรีของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน  การค้นภาพวาดสัตว์และคนมีอายุนับย้อนไปในยุคแรกประมาณ 35,000 ปี ที่ผนังถ้ำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำกิจกรรมประจำวันและบางทีอาจเป็นการปฏิบัติกิจกรรมทางด้านศาสนาของผู้คนเหล่านี้ด้วยซ้ำ    
                ทักษะและเครื่องมือของมนุษย์ยุคแรกสำหรับใช้ให้มีชีวิตอยู่รอดและการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมกลายเป็นความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไ

แผนที่อพยพมนุษย์ยุคแรก
เส้นทางย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ยุคแรก 1,600,000 - 10,000 ปี ก่อน ค.ศ.
การค้นพบอันน่าตื่นตาตื่นใจของนักวิทยาศ