แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

กำเนิดศาสนาคริสต์

กำเนิดศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์มีรากฐานมาจากยิว
          เมื่อ 63 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โรมันพิชิตอาณาจักรของชาวยิว ชื่อ ยูดาห์ (Judah) เรียกว่าจูเดีย (Judea) ก็ได้ ในช่วงประวัติศาสตร์ของพวกเขา ชาวยิวไม่ได้รับการดูแลอย่างดีอยู่เสมอ ชาวยิวหลายคนต้องการที่จะเป็นอิสระจากผู้ปกครองต่างเมือง คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวบางคัมภีร์ ให้สัญญาว่าจะมีพระเจ้ามาโปรดและคนจำนวนมากเชื่อว่านี้คงเป็นผู้ปกครองโลกที่ส่งมาจากพระเจ้า บางพวกเชื่อว่าผู้ปกครองนี้จะสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เดวิดหรือดาวิด (King David) ผู้ปกครองของอิสราเอลในศตวรรษที่ 9 (801 - 900 ปี) ก่อนคริสต์ศักราช พวกอื่น ๆ เชื่อว่าผู้มาโปรดจะปลดปล่อยพวกเขา

ประวัติและคำสอนของพระเยซู
โรมันได้แผ่อำนาจไปยังแคว้นยูเดีย ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิว  ประมาณ 63 ปีก่อนคริสตกาล ตอนแรก ราชอาณาจักรของชาวยิวยังคงเป็นอิสระอย่างน้อยก็ยังปรากฏชื่ออยู่  ต่อมาโรมเข้ายึดครองราชอาณาจักรของชาวยิว ใน ค.ศ. 6 (พ.ศ. 549) และทำให้เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม ชาวยิวจำนวนมาก ยังเชื่อว่าพวกเขาจะเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง  พระคัมภีร์ไบเบิลดั้งเดิมกล่าวไว้ว่า พระเจ้าทรงสัญญาว่าพระผู้ช่วยที่เรียกกันว่า Messiah (พระผู้มาโปรดชาวยิว) จะมาฟื้นฟูราชอาณาจักรของชาวยิว ประมาณสองทศวรรษที่ชาวโรมันเริ่มเข้าปกครอง ชาวยิวจำนวนมากมีความเชื่อว่า พระผู้ช่วยนั้นมาโปรดแล้ว
ในพระวรสารกล่าวว่า พระเยซูประสูติในเมืองเบธเลเฮม (Bethlehem) และเติบโตขึ้นมาในเมืองนาซาเร็ธ ต่อมาคริสต์ศาสนิกชน ได้เฉลิมฉลองวันประสูติของพระองค์ในวันหยุดคริสมาสต์ ในพระวรสาร พระเยซูถูกเลี้ยงดูมาโดยมารีย์ มารดาของพระองค์และโจเซฟ

พระเยซูแห่งนาซาเรธ  แม้ว่าวันเดือนปีที่แท้จริงยังไม่แน่นอน นักประวัติศาสตร์ก็เชื่อว่า ประมาณ 6-4 ปีก่อนคริสตกาล ชาวยิวได้ตั้งชื่อพระเยซู ผู้ซึ่งประสูติในเมืองเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย พระเยซูถูกเลี้ยงดูมาในหมู่บ้านนาซาเร็ธ ในตอนเหนือของปาเลสไตน์ พระองค์ได้รับพิธีบัพติศมาโดยผู้เผยพระวจนะ นามว่า ยอห์นผู้ให้บัพติศมา ชีวิตวัยหนุ่ม พระองค์มีอาชีพค้าขายไม้
ขณะอายุ 30 พระเยซูทรงเริ่มภารกิจของพระองค์ อีก 3 ปี ถัดมา พระองค์ทรงเทศนาสั่งสอนบำเพ็ญประโยชน์มากมายและมีรายงานแสดงปาฏิหาริย์มากมาย คำสอนของพระองค์มีแนวความคิดมากมายจากธรรมเนียมประเพณีของชาวยิว เช่น การนับถือพระเจ้าองค์เดียว หรือความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวและหลักบัญญัติสิบประการ พระเยซูทรงเน้นความสัมพันธ์กับมนุษย์แต่ละคนในฐานะเป็นบุคคลของพระเจ้า พระองค์ทรงเน้นให้ผู้คนมีความรักต่อพระเจ้า ต่อเพื่อนบ้าน ต่อศัตรูและต่อตนเอง พระองค์ยังสอนว่าพระเจ้าจะยุติความชั่วร้ายในโลกและจะสร้างอาณาจักรนิรันดร หลังจากความตายให้กับคนที่สำนึกบาปด้วยความจริงใจ

เริ่มเผยแพร่ศาสนา  การบันทึกเวลาทางประวัติศาสตร์พูดถึงพระเยซูน้อยมาก แหล่งที่มาหลักของข้อมูลเกี่ยวกับคำสอนของพระองค์ คือ พระวรสาร (Gospels) ซึ่งเป็นหนังสือ 4 เล่มแรกของพันธสัญญาใหม่ของพระคัมภีร์ไบเบิล พระวรสารบางส่วนคิดกันว่ามีการเขียนขึ้นโดยสาวกของพระเยซูคนหนึ่งหรือมากกว่า  สาวกทั้ง 12 ท่าน เหล่านี้ ต่อมาก็จะเรียกว่า อัครสาวก (apostles)

ในขณะที่พระเยซูเดินทางเทศนาไปยังเมืองต่าง ๆ กิตติศัพท์ของพระเองก็ขจรขจายไป พระองค์ทรงจูงใจคนเป็นจำนวนมากให้มาสัมผัสพระวรสารของพระองค์  เพราะพระเยซูไม่สนพระทัยคนมั่งคั่งและคนมีฐานะ พระวรสารของพระองค์จึงเป็นที่สนใจเป็นพิเศษแก่คนยากจน  พระองค์ตรัสว่า "ความสุขมีแก่ผู้ที่ถ่อมสุภาพ เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก"  พระวจนะของพระองค์ที่อยู่ในพระวรสาร ง่ายและตรงไปตรงมา  ดังนี้;
“จงรักศัตรูของท่าน จงทำดีแก่ผู้ที่เกลียดชังท่าน จงอวยพรคนที่แช่งด่าท่าน จงอธิษฐานเผื่อผู้ที่ทำร้ายท่าน ถ้าผู้ใดตบแก้มท่าน จงหันแก้มอีกข้างให้เขาด้วย ถ้าผู้ใดเอาเสื้อคลุมของท่านไป จงยอมให้เขาเอาเสื้อของท่านไปด้วย จงให้แก่ทุกคนที่ขอท่าน และถ้าใครเอาสิ่งที่เป็นของท่านไป อย่าเรียกร้องสิ่งนั้นกลับคืน จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน
ลูกา 6:27–31
สาวกของพระเยซู  ในวัยหนุ่ม พระเยซูเป็นศาสดานักเดินทาง คำบรรยายในพระคัมภีร์บอกว่า พระองค์ทรงหายจากอาการป่วยและอ่อนแอ แล้วทรงเปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น (ไวน์) ในงานเลี้ยงงานแต่งงานในหมู่บ้านคานา (Cana)

พระเยซูทรงเริ่มรวบรวมสาวก  สาวกผู้ใกล้ชิดที่สุดของพระองค์   12 ท่าน คือ ปีเตอร์หรือเปโตร (Peter) อันดรู (Andrew) เจมส์หรือยากอบ (James) ยอห์น (John) ฟิลิป (Philip) บารโธโลมิว (Bartholomew) โธมัส (Thomas) มัทธิว (Matthew) เจมส์หรือยากอบ (James - บุตรอัลเฟอัส)  ซีโมน (Simon) ธัดเดอัส (Thaddaeus) และยูดาส อิสคาริโอท (Judas Iscariot)

คำสอนของพระเยซู  พระเยซูทรงสอนความยุติธรรม ความเมตตาและการเกิดขึ้นแห่งอาณาจักรของพระเจ้า พระองค์มักจะเผยแพร่พระวรสารเหล่านี้ในรูปแบบของคำอุปมาหรือเรื่องราวที่ประกอบด้วยศีลธรรม คำอุปมาที่รู้จักกันดีที่สุดของพระเยซูที่ 3 เรื่อง คือ ผู้มีจิตใจเมตตากรุณา (Good Samaritan) ลูกล้างผลาญ (Prodigal Son) และแกะหาย (Lost Sheep)   คำอุปมาเรื่อง ผู้มีจิตใจเมตตากรุณา สอนให้รู้จักความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น  แม้ว่าเขาจะมีความแตกต่างจากเราและไม่ได้ร่วมเชื้อชาติหรือศาสนาเดียวกับตัวเรา คำอุปมาเรื่อง ลูกล้างผลาญ ว่าด้วยการเรียกร้องจิตวิญญาณที่สูญหายให้กลับใจของพระเจ้า คำอุปมาเรื่อง แกะหาย ว่าด้วยความเป็นห่วงคนทุกคนของพระเจ้า
คำสอนที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระเยซู คือ คำเทศนาบนภูเขา (the Sermon on the Mount) พระธรรมเทศนาเริ่มต้นด้วยความสุข ในพระธรรมเทศนานี้พระเยซูทรงเป็นกำลังใจให้คนไม่เพียงแต่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนจิตใจของพวกเขาด้วย บุคคลไม่ควรละเว้นจากการฆ่าเพียงเท่านั้น แต่ควรจะรักและสวดขอพรให้ศัตรูของตนเองด้วย พระเยซูทรงเป็นกำลังใจให้สาวกของพระองค์ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายและถ่อมตัว

แม้ขณะที่ทรงสั่งสอน พระเยซูก็ทรงโกรธบางคนที่มาฟังพระองค์ทรงเทศนา  ยกตัวอย่างเช่น พระเยซูทรงยกโทษให้คนที่ทำลายกฎทางศาสนา แต่ผู้นำชาวยิวหลายคนคิดว่าพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถประทานอภัยเช่นนี้ได้ พระเยซูยังสมาคมกับพวกคนบาปซึ่งผู้นำทางศาสนาถือว่าเป็นจัณฑาล ที่น่าตกใจมากที่สุดคือการที่สาวกของพระเยซูบางส่วนอ้างว่า พระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ (Messiah - ผู้ได้รับการเจิม หรือ พระผู้ช่วยให้รอด)  ที่พวกเขารอคอย  ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีปรปักษ์จำนวนหนึ่งต่อพระเยซู

เบธเลเฮม
เบธเลเฮม  ในภาพคือโบสถ์ ซึ่งคาดว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซู

สัญลักษณ์ไม้กางเขน
ไม้กางเขน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ บางอันสร้างขึ้นจากทองและประดับประดาด้วยเพชร เช่นในภาพนี้


แผนที่สถานที่ประสูติของพระเยซู
แผนที่ขณะที่พระเยซูยังทรงมีชีวิตอยู่


คำสอนของพระเยซู  พระเยซูทรงสอนความยุติธรรม ความเมตตาและการเกิดขึ้นแห่งอาณาจักรของพระเจ้า พระองค์มักจะเผยแพร่พระวรสารเหล่านี้ในรูปแบบของคำอุปมาหรือเรื่องราวที่ประกอบด้วยศีลธรรม คำอุปมาที่รู้จักกันดีที่สุดของพระเยซูที่ 3 เรื่อง คือ ผู้มีจิตใจเมตตากรุณา (Good Samaritan) ลูกล้างผลาญ (Prodigal Son) และแกะหาย (Lost Sheep)   คำอุปมาเรื่อง ผู้มีจิตใจเมตตากรุณา สอนให้รู้จักความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น  แม้ว่าเขาจะมีความแตกต่างจากเราและไม่ได้ร่วมเชื้อชาติหรือศาสนาเดียวกับตัวเรา คำอุปมาเรื่อง ลูกล้างผลาญ ว่าด้วยการเรียกร้องจิตวิญญาณที่สูญหายให้กลับใจของพระเจ้า คำอุปมาเรื่อง แกะหาย ว่าด้วยความเป็นห่วงคนทุกคนของพระเจ้า
คำสอนที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระเยซู คือ คำเทศนาบนภูเขา (the Sermon on the Mount) พระธรรมเทศนาเริ่มต้นด้วยความสุข ในพระธรรมเทศนานี้พระเยซูทรงเป็นกำลังใจให้คนไม่เพียงแต่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนจิตใจของพวกเขาด้วย บุคคลไม่ควรละเว้นจากการฆ่าเพียงเท่านั้น แต่ควรจะรักและสวดขอพรให้ศัตรูของตนเองด้วย พระเยซูทรงเป็นกำลังใจให้สาวกของพระองค์ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายและถ่อมตัว
แม้ขณะที่ทรงสั่งสอน พระเยซูก็ทรงโกรธบางคนที่มาฟังพระองค์ทรงเทศนา  ยกตัวอย่างเช่น พระเยซูทรงยกโทษให้คนที่ทำลายกฎทางศาสนา แต่ผู้นำชาวยิวหลายคนคิดว่าพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถประทานอภัยเช่นนี้ได้ พระเยซูยังสมาคมกับพวกคนบาปซึ่งผู้นำทางศาสนาถือว่าเป็นจัณฑาล ที่น่าตกใจมากที่สุดคือการที่สาวกของพระเยซูบางส่วนอ้างว่า พระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ (Messiah)  ที่พวกเขารอคอย  ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีปรปักษ์จำนวนหนึ่งต่อพระเยซู

การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู  การอ้างว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์หรือพระผู้ช่วยให้พ้นและผู้ปกครองของชาวยิว ได้ข่มขวัญชาวโรมันเพราะมันเป็นคำถามทางอำนาจและการบริหารทางการเมืองของพวกเขา นอกจากนี้ข้ออ้างนั้นยังทำให้ผู้นำชาวยิวจำนวนมากเกิดความตระหนกตกใจ

การจับกุมและการพิจารณาในศาล  ตามที่กล่าวไว้ในพระวรสารทั้งสาม  สาวกของพระเยซูได้ยกย่องพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ ในขณะที่พระองค์เดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลปัสกาอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิว  ในวิหารอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมือง  พระเยซูทรงวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธรณชนถึงวิธีการบริหารวิหาร พระเยซูจึงถูกจับและถูกส่งไปยังโรมันเพื่อรับการลงโทษ

เรื่องราวของการฟื้นคืนชีพ  ปอนติอุส  ปิลาต (Pontius Pilate) ผู้ปกครองโรมัน สั่งให้ประหารชีวิตพระเยซูด้วยการตรึงไม้กางเขนหรือแขวนบนไม้กางเขนจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ หลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ ร่างของพระองค์ถูกนำลงมาจากไม้กางเขนและถูกฝังไว้พร้อมทั้งนำก้อนหินขนาดใหญ่มาปิดหน้าหลุมฝังศพของพระองค์
ในวันที่สามหลังจากที่พระองค์ถูกประหาร  ตามที่กล่าวไว้ในพระวรสาร สาวกบางพวกรายงานว่าหินเคลื่อนออกไป หลุมฝังศพว่างเปล่า สาวกพวกอื่น ๆ ก็พูดว่าพวกเขาได้เห็นพระเยซูและเดินพูดคุยกับพระองค์ด้วย
การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูเป็นที่ประจักษ์แก่เหล่าสาวกของพระองค์จำนวนมาก ว่า พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้า พวกเขามีความเชื่อว่า พระเยซูทรงตั้งพระทัยที่จะสละชีวิตของพระองค์เพื่อประโยชน์ของอาณาจักรพระเจ้า พระเจ้าทรงนำชีวิตใหม่มาสู่โลกผ่านทางการตายและการฟื้นคืนชีพของพระเยซู นี่คือโลกที่บาปและความตายจะพบกับความปราชัย เหล่าสาวกของพระเยซูกล่าวว่าทุกคนที่เชื่อเรื่องนี้จะมีส่วนร่วมในชีวิตของพระเจ้า

ตามคำบอกเล่าของชาวคริสต์ พระเยซูถูกตรึงกางเขนในวันศุกร์ และทรงฟื้นคืนชีพในวันอาทิตย์ วันหยุดของชาวคริสต์ คือ วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) และวันอาทิตย์อีสเตอร์ (Easter Sunday) ซึ่งเป็นวันสำหรับระลึกถึงเหตุการณ์ทั้งสองนี้ ได้มีการเฉลิมฉลองนับตั้งแต่นั้นมา

ชาวคริสต์ยุคแรก
สาวกรุ่นแรกพระเยซูเป็นชาวยิว ในที่สุด สาวกเหล่านั้นก็พัฒนาความเชื่อและการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกออกจากศาสนายิวและเรียกกันว่า คริสตชน

คริสตจักรในยุคแรก  เหล่าสาวกคิดว่าพระเยซูได้ทำให้คำทำนายของชาวยิวเรื่องพระเมสสิยาห์สมหวังแล้ว  เหล่าสาวกพยายามโน้มน้าวชาวยิวคนอื่น ๆ ให้ยอมรับพระเยซูเป็นเมสสิยาห์
คริสตจักรในยุคแรกเน้นการแบ่งปันทรัพย์สมบัติเช่นเดียวกับการบำเพ็ญการกุศล ด้วยการช่วยนักโทษและการรับประทานอาหารร่วมกัน ผู้หญิงและทาสมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม อาจจะเป็นเพราะคริสตจักรใหม่สอนว่า สมาชิกทุกคนมีความเสมอภาคกัน ความเชื่อเหล่านี้ช่วยในการก่อตั้งคริสตจักรในยุคแรก นอกเหนือจากศาสนาอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน  เหล่าสาวกปรารถนาในการเผยแพร่พระวรสารของพระเยซูและเปลี่ยนคนอื่น ๆ ให้มีความเชื่อเหมือนกับตนเอง

เกิดความขัดแย้ง ชาวยิวที่หันมานับศาสนาคริสต์ คือ สมาชิกกลุ่มแรกของคริสตจักร การเปลี่ยนแปลงคนต่างชาติ (Gentiles – เป็นคำที่ชาวยิวเรียกคนที่ไม่ใช่ยิว) หรือคนที่ไม่ใช่ชาวยิว ให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ได้จุดประกายให้มีการอภิปราย บางคน คิดว่า ชาวต่างชาติควรปฏิบัติตามพระคัมภีร์โทราห์ ในขณะที่คนอื่น ๆ คิดว่าวิธีนี้ไม่จำเป็น
ครั้งแรก ผู้นำชาวโรมันไม่สนใจชาวคริสต์ในยุคแรก ชาวโรมันก็เหมือนกับชาวคริสต์นั่นเอง มีความเห็นว่า ศาสนาคริสต์เป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์ (หรือศาสนายิว) ผู้นำชาวยิวไม่เห็นด้วยกับความเห็นนี้

พอลหรือเปาโล (Paul) เผยแพร่ศาสนาคริสต์
ซาอูลคือผู้นำในยุคแรกของศาสนาคริสต์คนหนึ่ง ที่เป็นชาวยิว  ในวัยหนุ่ม เขาได้เขียนข้อความคัดค้านคริสตจักรอย่างจริงจัง  ต่อมา เขาก็เปลี่ยนศรัทธามานับถือศาสนาคริสต์

เส้นทางสู่ดามัสกัส  ขณะเดินทางไปยังดามัสกัส ซาอูลได้ประสบความเปลี่ยนแปลงทางศาสนาอย่างกะทันหัน ตามรายงานของซาอูลเอง เขารู้สึกว่าพระเจ้าทรงบอกเขาว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระองค์ และทรงแต่งตั้งให้ซาอูลเป็นผู้ประกาศให้ชาวต่างชาติ (คือคนที่ไม่ใช่ยิว) รู้จักพระเยซู ซาอูลเกิดความเชื่อว่า พระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ของชาวยิว

ภูมิหลังทางวัฒนธรรมและการเมืองของซาอูลช่วยให้เขากลับใจเหล่าคนที่ไม่มีศรัทธา ในฐานะที่เป็นผู้ที่ถือตัวว่าเคร่งครัด(Pharisee) ซาอูลจึงรู้กฎหมายยิว เขาเกิดในทาร์ซัส (Tarsus) เมืองในเอเชียไมเนอร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีกอย่างหนัก  ซาอูลถือว่าเป็นพลเมืองโรมันซึ่งเขาได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างอิสระไปทั่วจักรวรรดิ
        ในขณะที่เขาเดินทางไป ซาอูลได้ใช้ชื่อโรมันว่า พอล (Paul) หลังผ่านไปสามปี ตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์คริสต์ พอลก็พร้อมที่จะเดินทางไปในฐานะเป็นมิชชันนารี ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกส่งตัวไปทำงานทางศาสนาในสถานที่อื่น ตลอดอายุของพอล จักรวรรดิโรมันกำลังประสบ Pax Romana หรือ "สันติภาพโรมัน" ข้อนั้นทำให้การเดินทางไปทั่วทุกหนแห่งของพอลมีความปลอดภัยบนเส้นทางอันประเสริฐ

 
สุสานฝังศพของพระเยซู
สุสานฝังพระศพของพระเยซู  สุสานที่ฝังพระศพของพระเยซูนี้ถูกปิดด้วยก้อนหินกลม ๆ


 
ภาพวาดพระเยซูประสูติ
ภาพวาดพระเยซูประสูติ

 
นักบุญเปาโลอัครทูต
นักบุญเปาโลหรือพอล อัครทูต มิชชันนารีคนสำคัญที่สุด ในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในยุคแกร

การเดินทางเผยแพร่ศาสนาคริสต์  อย่างไรก็ตาม การเดินทางของพอลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เขาแบ่งการเดินทางของมิชชันนารีเป็นสี่คณะ แต่ละคณะใช้เวลาหลายปี พอลและมิชชันนารีชาวคริสดต์คนอื่น ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้สำหรับการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไปทั่วจักรวรรดิโรมัน ปีที่ผ่านมาพอลและที่ผู้นำชาวคริสต์ในยุคต้นอื่น ๆ ได้ต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่ใช่ยิวให้กลายเป็นชาวยิวก่อนที่จะกลายเป็นชาวคริสต์ พอลแย้งว่าการเปลี่ยนไปเป็นศาสนายูดายไม่จำเป็น ความเชื่อของพอลช่วยให้ศาสนาคริสต์แยกต่างหากจากยูดาย นอกจากนี้ยังทำศาสนาใหม่ให้น่าสนใจมากขึ้นแก่ผู้ที่ไม่ใช่ยิว เป็นผลให้ศาสนาคริสต์เริ่มแผ่กระจายไปทั่วจักรวรรดิ

จดหมาย
 พอลได้เริ่มตั้งนิกายใหม่และได้ติดต่อกับนิกายเหล่านี้โดยการเขียนจดหมาย ตัวอักษรของพอลอธิบายความเชื่อของชาวคริสต์และกระตุ้นให้เปลี่ยนไปใช้ชีวิตตามกฎของพระเจ้า เขาได้เทศน์ว่าการรอดพ้นจากบาปเป็นไปได้กับทุกคนที่ยอมรับพระเยซู จดหมายของพอลอยู่ในหมู่จดหมายที่เป็นคำสอนสั่งอย่างเป็นทางการ ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ไบเบิลใหม่ (New Testament) ในจดหมายที่มีชื่อเสียงฉบับหนึ่ง พอลเขียนว่า ความเชื่อในพระเยซูทำให้ปัญหาและอุปสรรคทั้งหมดระหว่างผู้คนหมดสิ้นไป

ความตายและมรดกของพอล  พอลต้องการจะเดินทางไปกรุงโรมเพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เขาเดินทางมาถึงกรุงโรม แต่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาหวังไว้ ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการทำงานของเขา พอลได้กลับไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เขาถูกนำตัวเข้าห้องขังโดยชาวโรมันเมื่อมีข่าวลือว่าเขาได้นำต่างชาติเข้ามาในวิหาร หลังจากที่อยู่ในคุกเป็นเวลาสองปี พอลต้องการจะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือก่อนจักรพรรดิซีซาร์ในโรม
พอลได้เดินทางครั้งสุดท้ายในปลายฤดูใบไม้ร่วง ในคริสต์ศักราช 59 (พ.ศ. 602) หลังจากที่เดินทางมาถึงกรุงโรมในช่วงต้นคริสต์ศักราช 60 (พ.ศ. 603)  พอลยังคงถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลาสองปี เขาได้เขียนจดหมายหลายฉบับจากการถูกจองจำ แล้วทันใดนั้นเขาก็หยุด พอลอาจจะเสียชีวิตในกรุงโรม
พอลเป็นคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของสาวกหรือผู้นำสารของพระเยซูยุคแรก เพราะการเดินทางและจดหมายเป็นอันมากของเขา เขาช่วยให้คริสต์ศาสนาเผยแพร่จากบ้านเกิดของพระเยซูออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

แผนที่การแพร่กระจายของศาสนาคริสต์
แผนที่การแพร่กระจายของศาสนาคริสต์  ค.ศ. 300 - 400