การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคกลาง
|
||
การพัฒนาทางด้านการหาอาหาร
การฟื้นตัวครั้งยิ่งใหญ่ของยุโรปไม่น่าจะเป็นไปได้ถ้าปราศจากการทำเกษตรกรรม
อารยธรรมที่รุ่งเรืองมีความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น
สภาพภูมิอากาศที่อบอุ่น ซึ่งกินเวลาประมาณ 800-1,200 ปี ทำให้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมดีขึ้น
เกษตรกรเริ่มเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกในภูมิภาคที่หนาวเหน็บครั้งเดียวเพื่อปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
พวกเขายังได้พัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ให้มากขึ้น
การสับเปลี่ยนไปใช้แรงงานม้า เป็นเวลาหลายร้อยปี ชาวบ้านได้ใช้วัวลากไถ
วัวกินฟางและตอซังข้าวที่แสนจะไร้คุณภาพและเพื่อให้ชาวนามีวิธีที่ง่ายในการรักษาวัว
ม้าจึงต้องการอาหารที่ดีกว่า แต่ม้าชุดหนึ่งสามารถไถนาได้สามครั้งต่อวันพอ ๆ
กับใช้วัวชุดหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม
ก่อนที่เกษตรกรจะใช้ม้า จำเป็นต้องมีบังเหียนที่ดีกว่า บางครั้ง เมื่อ 900 ปีก่อน
เกษตรกรในยุโรปเริ่มใช้บังเหียนติดตั้งทั่วหน้าอกม้า ทำให้มันลากไถได้ เป็นผลให้คนค่อย
ๆ หันมาใช้ม้าลากไถและลากรถแทนวัว เสียงขวานก็ส่งเสียงดัง ขณะที่ป่าถูกถางเป็นทุ่งนาขึ้นมาใหม่ไปทั่วยุโรป
ระบบไร่นาสามแปลง ประมาณ ค.ศ. 800 หมู่บ้านบางหมู่บ้านเริ่มจัดระเบียบที่นาของตนเองออกเป็น
3 แปลงแทน 2 แปลง ใช้ปลูกพืช 2 แปลง
อีกแปลงหนึ่งปล่อยทิ้งไว้ 1 ปี ภายใต้ระบบไร่นา 3 แปลงระบบใหม่นี้ ในแต่ละปี เกษตรกรสามารถปลูกพืชบนที่ดินสองในสาม
เหลือไว้ครึ่งหนึ่ง เป็นผลให้การผลิตอาหารเพิ่มขึ้น ชาวบ้านมีอาหารรับประทานมากขึ้น
ผู้คนได้รับการดูแลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ มีความต้านทานโรคและมีชีวิตยืนยาว
และผลที่ตามมา ก็คือ ประชากรในยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรวมตัวเป็นสมาคม (The Guilds)
การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองในเศรษฐกิจยุโรปคือการพัฒนาสมาคม
สมาคม คือองค์กรของบุคคลที่มีธุรกิจหรือประกอบอาชีพเดียวกัน เพื่อปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก
สมาคมแรก คือ สมาคมผู้ประกอบการค้า เหล่าพ่อค้าได้รวมตัวกันเพื่อควบคุมสินค้าที่มีจำนวนมาก
เพื่อการค้าขายและให้ราคาเพิ่มขึ้น พวกเขายังจัดการรักษาความปลอดภัยในการค้าขายและลดการสูญเสีย
ในเวลาเดียวกับ
ช่างฝีมือที่มีทักษะ เช่น ช่างทำล้อรถ ช่างทำกระจก ช่างผลิตไวน์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
และเภสัชกร เริ่มจัดตั้งสมาคมช่างฝีมือขึ้น ในหมู่ช่างฝีมือสวนใหญ่ จะเป็นสามีและภรรยาทำงานด้วยการค้าขายเป็นครอบครัว
ส่วนน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่างทอเสื้อผ้า จะเป็นผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ สมาคมได้จัดตั้งมาตรฐานเพื่อให้ได้คุณภาพของงาน
ค่าจ้าง และสภาพการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ช่างทำขนมปังจำเป็นต้องขายก้อนขนมปังที่มีขนาดและน้ำหนักมาตรฐาน
สมาคมยังสร้างโครงการสำหรับการฝึกอบรมดูแลแรงงานใหม่ ๆ
ประมาณศตวรรษที่
1000 (ค.ศ. 1000 – 1999) ช่างศิลป์และช่างฝีมือได้ผลิตสินค้าด้วยมือเพื่อจำหน่ายในท้องถิ่นและที่ทางไกล
ผลผลิตมากขึ้นและดีขึ้นตอนนี้สามารถจับจ่ายซื้อขายได้ในเมืองเล็ก ๆ ในเมืองใหญ่ ๆ และในงานแสดงสินค้า สมาคมเข้มแข็งมีประสิทธิภาพขึ้นในเศรษฐกิจยุคกลาง
ความมั่งคั่งที่สมาคมสั่งสมขึ้น ช่วยสร้างอิทธิพลเหนือรัฐบาลและเศรษฐกิจของเมืองเล็กและเมืองใหญ่
การปฏิวัติการค้า
ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมกำลังขยายตัวและช่างฝีมือกำลังมีการเปลี่ยนแปลง
การค้าขายและการการเงินก็เหมือนกัน ความสามารถในการค้าขายสินค้าที่เพิ่มขึ้นและวิธีการใหม่
ๆ ในการทำธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนในยุโรป เมื่อรวมตัวกันขึ้น การขยายตัวของการค้าและธุรกิจนี้
จึงเรียกว่า การปฏิวัติพาณิชย์ (Commercial Revolution – การปฏิวัติการค้า)
งานแสดงสินค้าและการค้าขาย การค้าขายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองเล็ก
ชาวนาที่อยู่บริเวณใกล้คฤหาสน์ จะเดินทางไปยังเมืองเล็กในวันที่มีงานแสดงสินค้า เพื่อลำเลียงสินค้าไปขาย
งานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ จัดขึ้นปีละหลาย ๆ ครั้ง ปกติจะอยู่ในช่วงเทศกาลทางศาสนา
เมื่อคนจำนวนมากมารวมตัวกันในตัวเมือง ผู้คนก็ได้เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าที่พ่อค้าจากทุกส่วนของยุโรปจัดตั้งขึ้น
เสื้อผ้าเป็นรายการค้าที่พบมากที่สุด
สินค้าอื่น ๆ ประกอบไปด้วยเบคอน เกลือ น้ำผึ้ง เนย ไวน์ เครื่องหนัง สีย้อมผ้า มีดและเชือก
ตลาดในท้องถิ่นดังกล่าวพบว่ามีความจำเป็นทุกอย่างในชีวิตประจำวันสำหรับชุมชนเล็ก
ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผลิตสำหรับคฤหาสน์เพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้ก็ไม่มีอีกต่อไป
|
สินค้าจากต่างแดนก็หาได้มากขึ้น
เส้นทางการค้าได้กระจายไปทั่วยุโรป ตั้งแต่ทุ่งแฟลนเดอส์ (Flanders - พื้นที่ทางตอนเหนือของเบลเยียม) ไปจนถึงอิตาลี เรือพ่อค้าของชาวอิตาลีเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังท่าเรือในจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือไบแซนทิอุม (Byzantium) เช่น คอนสแตนติโนเปิล
(Constantinople) พวกเขาเดินทางไปยังท่าเรือชาวมุสลิมตามแนวชายฝั่งแอฟริกาตอนเหนือ
เส้นทางการค้าได้เปิดไปยังเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามครูเสด
ธุรกิจในตลาดและการออกร้านที่เพิ่มขึ้นทำให้เหล่าพ่อค้ายินดีที่จะใช้โอกาสในการซื้อสินค้าที่พวกเขาสามารถขายได้อย่างมีกำไร
ครั้นแล้ว เหล่าพ่อค้าก็ได้นำผลกำไรกลับไปลงทุนในสินค้ามากขึ้น
ธุรกิจและการธนาคาร ในขณะที่เหล่าผู้ค้าเดินทางจากงานแสดงสินค้าที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
พวกเขาจำเป็นต้องมีเงินสดหรือสินเชื่อจำนวนมากและวิธีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหลายประเภท
เหล่าพ่อค้าที่มีความคิดริเริ่ม ก็ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นตั๋วแลกเงิน ก็ได้กำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างระบบเงินตราที่แตกต่างกัน
เลตเตอร์ออฟเครดิตหรือตราสารเครดิต
(Letters of credit) ระหว่างพ่อค้าได้ขจัดความจำเป็นในการนำเงินสดไปเป็นจำนวนมากและทำให้การซื้อขายง่ายขึ้น
สถานธุรกิจและสมาคมการค้าขายก็ก่อตัวขึ้นเพื่อให้บริการเหล่านี้ให้กับกลุ่มของพวกเขา
พ่อค้าได้มองหาตลาดใหม่
ๆ และโอกาสในการทำกำไร เหล่าพ่อค้าจึงต้องมีการซื้อสินค้าจากสถานที่ห่างไกลเป็นครั้งแรก
การที่จะทำเช่นนั้น พวกเขาต้องมีการยืมเงิน แต่คริสตจักรห้ามไม่ให้ชาวคริสต์กู้ยืมเงินที่มีดอกเบี้ย
ซึ่งเป็นบาป ที่เรียกว่า ดอกเบื้ยขูดเลือด เมื่อเวลาผ่านไปคริสตจักรได้ผ่อนคลายกฎที่มีต่อดอกเบี้ยขูดเลือดและชาวคริสต์ได้เข้ามาทำธุรกิจการธนาคาร
ธนาคารกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลี
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การปฏิวัติการค้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า
ๆ ถึงกระนั้นก็ยังมีผลกระทบที่สำคัญต่อชีวิตของชาวยุโรป ดังตัวอย่างในแผนภาพ การค้าที่เพิ่มขึ้นได้นำการเปลี่ยนแปลงหลายด้านมาสู่ลักษณะของสังคม
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดสองประการ คือ การทำมาหาเลี้ยงชีพและที่อยู่อาศัย
ในขณะที่เมืองเล็กได้ดึงดูดคนงานเข้ามาอยู่มากมาย จึงกลายเป็นเมืองใหญ่
ชีวิตในเมืองใหญ่แตกต่างจากการใช้ชีวิตในหมู่บ้านที่ไร้ชีวิตชีวาหรือบนคฤหาสน์
ชีวิตในเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้น
นักวิชาการประเมินว่า
ระหว่าง 1000 - 1150 ปี ประชากรของยุโรปตะวันตกได้เพิ่มขึ้นประมาณ
30 ล้านบาทจนถึงประมาณ 42 ล้าน เมืองเล็ก
ๆ เกิดการขยายตัวและความเจริญรุ่งเรืองขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองที่ยิ่งใหญ่ เช่น คอนสแตนติโนเปิล เมืองเล็ก ๆ
ของยุโรปเป็นเมืองที่ไม่ซับซ้อนและมีขนาดเล็ก เมืองที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป คือ ปารีส
อาจจะมีประชากรไม่มากเกินกว่า 60,000 คน เมื่อประมาณปี 1200 ปี เมืองเล็ก ๆ ทั่วไปในยุโรปยุคกลางมีประชากรเพียงประมาณ
1,500 - 2,500 คน
ถึงกระนั้นก็ตาม ชุมชนเล็ก ๆ เหล่านี้ก็กลายเป็นพลังที่มีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงในยุโรป
|
การค้าขายกับเมืองเล็ก
ๆ เจริญเติบโตไปพร้อมกัน ในช่วงยุคกลางช่วงต่อมา การค้าขายเป็นสิ่งที่จรรโลงชีวิตอย่างมากสำหรับเมืองใหม่
ๆ ที่ผุดขึ้นตามท่าน้ำและทางแยก
บนยอดเขาและตามแม่น้ำ ในขณะที่การค้าเจริญเติบโตขึ้น เมืองเล็ก ๆ ทั่วยุโรปเต็มไปด้วยผู้คน ความตื่นเต้นและความคึกคักของเมืองได้ดึงผู้คนเข้ามาเป็นจำนวนมาก
แต่มีข้อบกพร่องบางอย่างในการอาศัยอยู่ในเมืองในยุคกลาง ถนนคับแคบ เต็มไปด้วยสัตว์และมูลของพวกมัน
ไม่มีท่อระบายน้ำทิ้ง คนส่วนใหญ่จึงทิ้งขยะในครัวเรือนและของเสียจากมนุษย์ลงสู่ถนนด้านหน้าของบ้าน
คนส่วนใหญ่ไม่เคยอาบน้ำและบ้านเรือนของพวกเขาขาดอากาศที่สดชื่น แสงสว่าง และน้ำสะอาด
เนื่องจากบ้านสร้างขึ้นจากไม้ มีหลังคามุงจาก จึงเป็นอันตรายจากไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หลายคนเลือกที่จะย้ายไปยังเมืองเพื่อติดตามโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่พวกเขาหยิบยื่นให้
ประชาชนไม่มีความพอใจกับการมีอยู่ของระบบศักดินาแบบเก่าบนคฤหาสน์
หรือในหมู่บ้านเล็ก ๆ อีกต่อไป แม้ว่าจะมีความผูกพันตามกฎหมายกับคฤหาสน์ของขุนนาง
พวกข้าทาสบริพารจำนวนมากก็พากันผละหนีไป ตามกฎหมายจารีตประเพณี ข้าทาสบริพารในขณะนี้อาจจะกลายเป็นผู้มีอิสรภาพได้
โดยการอาศัยอยู่ภายในเมืองเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม มีคำพูดถึงยุคที่ผ่านไปแล้วว่า "อากาศในเมืองทำให้คุณเป็นอิสระ
(Town
air makes you free)" ข้าราชบริพารหลายคนที่หลบหนีเหล่านี้ซึ่งในช่วงนี้ได้รับอิสรภาพ
จึงก่อร่างสร้างชีวิตตัวเองให้ดีขึ้นในเมือง
ชนชั้นกระฎุมพี
(พ่อค้า) เปลี่ยนระเบียบแบบแผนของสังคม เหล่าพ่อค้าและช่างฝีมือของเมืองในยุคกลางไม่ได้จัดเข้าในระเบียบแผนของสังคมแบบดั้งเดิมในยุคกลาง
คือ ขุนนาง พระสงฆ์และชาวนา ตอนแรก เมืองเล็กอยู่ภายใต้อำนาจของขุนนางศักดินาที่ใช้อำนาจของพวกเขาเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ภาษีและค่าเช่า ในขณะที่การค้าขายขยายตัว ชาวเมืองหรือชนชั้นพ่อค้าที่อาศัยอยู่ในเมืองไม่พอใจการแทรกแซงในการค้าและการพาณิชย์ของพวกเขา
จึงได้จัดระเบียบตัวเองและเรียกร้องสิทธิพิเศษ สิ่งเหล่านี้รวมถึงเสรีภาพจากค่าอาการบางชนิดและสิทธิในการปกครองเมืองด้วย
บางครั้งบางคราว พวกเขาได้ต่อสู้กับเจ้าของที่ดินและได้รับสิทธิเหล่านี้ด้วยพลังอำนาจ
การฟื้นฟูการเรียนรู้
ในช่วงสงครามครูเสด
ชาวยุโรปได้ติดต่อกับชาวมุสลิมและไบเซนไทน์ได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก การติดต่อนี้
ได้นำมาซึ่งความสนใจในการเรียนรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลงานของนักปรัชญากรีก
ห้องสมุดมุสลิมและไบเซนไทน์ก็มีสำเนาของงานเขียนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้หายไปในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาหลังการล่มสลายของกรุงโรมและการรุกรานของยุโรปตะวันตก
การติดต่อสัมพันธ์กับชาวมุสลิม ในศตวรรษที่ 1100 นักวิชาการคริสเตียนจากยุโรปได้เริ่มเข้ามาเยี่ยมชมห้องสมุดของชาวมุสลิมในสเปน
นักวิชาการตะวันตกเล็กน้อยรู้จักภาษากรีก แต่ส่วนใหญ่รู้จักภาษาละติน ดังนั้น นักวิชาการชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศสเปน
ก็ได้แปลผลงานของอริสโตเติลและนักเขียนชาวกรีกอื่น
ๆ ที่เป็นภาษาอาหรับ ให้เป็นภาษาละติน ในทันทีทันใด ชาวยุโรปก็ได้รับเนื้อหาความรู้ใหม่
ๆ ขนาดมหึมา รวมทั้งวิทยาศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย คณิตศาสตร์และวิชาการสาขาอื่น ๆ
นอกจากนี้นักรบครูเสดก็ได้นำเทคโนโลยีมุสลิมที่ยอดเยี่ยม เกี่ยวเรือ
การเดินทางด้วยเรือและอาวุธ กลับไปยังยุโรป
|
นักวิชาการและมหาวิทยาลัย สถาบันในยุโรปแห่งใหม่ คือ
มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งการเรียนรู้ คำว่า University ตามรากศัพท์
หมายถึงกลุ่มของนักวิชาการที่ประชุมกัน ณ ที่ใดก็ได้ตามที่พวกเขาทำได้ ผู้คน ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง
ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยในยุคกลาง มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นที่ปารีสและที่โบโลญญา
ประเทศอิตาลี ในตอนปลายของศตวรรษที่ 1100 มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็ตั้งขึ้นตามมาที่เมืองอ๊อกฟอร์ด
ประเทศอังกฤษและซาเลอโน ประเทศอิตาลี
นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นบุตรชายของชาวเมืองหรือช่างฝีมือผู้มีอันจะกิน
เป้าหมายของนักศึกษาส่วนใหญ่ ก็คือการทำงานราชการหรืองานในคริสตจักร ผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาว่าด้วยการศาสนา อาจจะใช้เวลา
5-7 ปีในโรงเรียน เพื่อเป็นอาจารย์สาขาวิชาว่าด้วยการศาสนา ใช้เวลาอย่างน้อย 12
ปีการศึกษา
ความคิดใหม่
ๆ และรูปแบบของการแสดงออก ได้เริ่มหลั่งไหลออกมาจากมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่นักวิชาการและนักเขียนผู้ที่เอาจริงเอาจัง
กำลังเขียนเป็นภาษาละติน นักกวีที่โดดเด่นไม่กี่คน เริ่มใช้ภาษาที่ใช้ประจำวันอย่างมีชีวิตชีวาหรือใช้ภาษาบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาทุกวัน
นักเขียนเหล่านี้บางพวก ได้เขียนผลงานชิ้นเอกที่ยังคงมีผู้อ่านมาจนถึงทุกวันนี้
ดันเต อาลีกีเอรี (Dante Alighieri) ได้เขียนสุขนาฏกรรมของพระเจ้า (The
Divine Comedy หรือ Divina Commedia ในภาษาอิตาลี) (ค.ศ. 1308-1314) เป็นภาษาอิตาลี เจฟฟรีย์ ชอเซอร์
(Geoffrey Chaucer) ได้เขียนตำนานแคนเตอร์บรี (The Canterbury Tales) (ประมาณ ค.ศ. 1386-1400) เป็นภาษาอังกฤษ คริสติน
เดอ ปิซาน (Christine de Pisan) ได้เขียน The Book of The City of Ladies (ค.ศ. 1405) เป็นภาษาฝรั่งเศส เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือเข้าใจภาษาละติน
ผลงานที่เขียนเป็นภาษาพื้นเมืองเหล่านี้ จึงเผยแพร่วรรณคดีไปสู่คนจำนวนมาก
อไควนัสกับปรัชญาในยุคกลาง นักวิชาการชาวคริสเตียนมีความตื่นเต้นในความคิดของนักปรัชญากรีก
พวกเขาสงสัยว่า นักวิชาการชาวคริสเตียนจะสามารถใช้วิธีการเข้าถึงความจริงเชิงตรรกะของอริสโตเติลได้หรือไม่และยังคงเชื่อมั่นในพระคัมภีร์ไบเบิล
ในช่วงกลางทศวรรษที่
1200 นักวิชาการชื่อ ทอมัส อไควนัส (Thomas
Aquinas) ได้โต้แย้งว่า ความจริงขั้นพื้นฐานในทางศาสนาส่วนมาก อาจจะได้รับการพิสูจน์ได้โดยตรรกะเหตุผล
ระหว่าง ค.ศ. 1267 ถึง ค.ศ. 1273 อไควนัสได้เขียนหนังสือชื่อ Summa
Theologicae ผลงานการเขียนที่ยิ่งใหญ่ของอไควนัสได้รับอิทธิพลจากอริสโตเติล
ซึ่งรวบรวมความคิดของกรีกโบราณกับความคิดของศาสนาคริสต์ในยุคของเขา
อไควนัสและเพื่อนนักวิชาการที่พบกันในมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่
ซึ่งเรียกกัน “ผู้ร่ำเรียนหรือครูอาจารย์” (Schoolmen หรือ Scholastics
Scholastics) ผู้ร่ำเรียนได้ใช้ความรู้ของอริสโตเติลในการอภิปรายปัญหาหลายประการในยุคของพวกเขา
คำสอนของพวกเขาเกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองมีอิทธิพลต่อความคิดของยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส
ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มพัฒนาสถาบันและแบบแผนประเพณีแบบประชาธิปไตย
|
ตลาดปลานี้กระจายความหลากหลายของอาหารที่มีอยู่ในเมืองในยุคกลาง
|
งานเขียนของทอมัส อไควนัส ให้ความสนใจกับศรัทธาระหว่างเหตุผลกับตรรกะ |
ประวัติศาสตร์ทางสังคม
|
นามสกุล
หลายคนสามารถย้อนรอยอาชีพในยุคกลางในยุโรปได้ด้วยชื่อสุดท้าย
(last names) หรือชื่อสกุลของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ชื่อสมิธ (Smith) หมายถึงคนที่เป็น "ช่างตีเหล็ก" หรือคนทำงานด้านโลหะ
นามสกุล Silversmith จะเป็นของบุคคลที่ทำงานด้านเครื่องเงิน
ในพื้นที่ที่พูดภาษาเยอรมัน Smith จะเป็น Schmidt
บางคนที่ทำสินค้ามาจากไม้
นามสกุลมักจะเป็น Carpenter (ช่างไม้) ในพื้นที่ที่พูดภาษาฝรั่งเศส ช่างไม้จะเรียกว่า Charpentier
ในขณะที่ในพื้นที่เยอรมัน คนคนเดียวกันจะเรียกว่า Zimmerman
นามสกุลชื่อ Boulanger หมายถึงผู้มีอาชีพทำขนมปังในภาษาฝรั่งเศส ในภาษาเยอรมนีมักจะเป็น Becker
|
ประวัติศาสตร์เชิงลึก
|
|
นักวิชาการมุสลิม
นักวิชาการอิสลามมีอิทธิพลมากในความคิดของยุโรป
ภาพด้านบน คือ อิบนุซีนา (Ibn Sina) ในตะวันตก
เรียกกันว่า แอวิเซนนา (Avicenna)
เขาเป็นนักปรัชญา นักดาราศาสตร์ กวีและแพทย์ชาวเปอร์เซีย
หนังสือของเขา ชื่อ The Cure เป็นการตีความของปรัชญาของอริสโตเติล
มีอิทธิพลอย่างมากในสายความคิดตะวันตก ผลงานนี้ที่ถูกแปลเป็นภาษาละติน มีอิทธิพลต่อการศึกษาหลายสาขา
|