กำเนิดจักรวรรดิโรมัน
|
||
ความขัดแย้งในบ้านเมือง
ในขณะที่กรุงโรมขยายตัวกว้างขวาง ชาวโรมันผู้มั่งคั่งหลายคน
ได้ทอดทิ้งหน้าที่ของพลเมือง คิดถึงแต่อำนาจและความมั่งคั่งมากขึ้น
ข้อนี้ได้เพิ่มระยะห่างระหว่างคนรวยและคนจน ส่งผลให้เกิดมีภัยคุกคามจากการลุกฮือต่อต้านเพิ่มขึ้น
ในขณะที่สามัญชนมีความไม่พอใจอำนาจและสิทธิพิเศษของเศรษฐีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
การปฏิรูปล้มเหลว
นักปฏิรูปพยายามที่จะบรรเทาปัญหาเหล่านี้ พวกเขามีความต้องการจะแบ่งกองทรัพย์สินขนาดใหญ่และให้ที่ดินแก่คนยากจน
แต่เศรษฐีเจ้าของที่ดินในวุฒิสภารู้สึกว่าถูกคุกคาม จึงไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปและสั่งให้ฆ่านักปฏิรูป
สงครามกลางเมือง
ในเวลาเดียวกัน แม่ทัพที่พิชิตดินแดนอื่น ๆ ได้ ก็กลายเป็นผู้ที่มีความทะเยอทะยานในการใช้อำนาจต่อบ้านเมือง
พวกเขาได้ว่าจ้างเกษตรกรที่ยากจนให้รับใช้ตนเองในฐานะเป็นทหารเพิ่มมากขึ้น ทหารเหล่านี้เปลี่ยนความจงรักภักดีของตนจากการปกครองแบบสาธารณรัฐไปให้กับแม่ทัพ
ความปรารถนาในอำนาจของแม่ทัพนำไปสู่ความขัดแย้ง
ในที่สุด
สงครามกลางเมืองก็ระอุขึ้น สงครามกลางเมือง
(a civil war) คือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหลายกลุ่มภายในประเทศเดียวกัน
คือ ฝ่ายหนึ่งคือแม่ทัพผู้ให้การสนับสนุนกลุ่มสามัญชน
อีกฝ่ายหนึ่ง คือ แม่ทัพที่ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางและวุฒิสมาชิก
แม่ทัพคนหนึ่ง
ชื่อ มาริอุส (Marius) ต่อสู้เพื่อสามัญชน ในขณะที่แม่ทัพ ชื่อซุลลา
(Sulla) ต่อสู้เพื่อขุนนาง การต่อสู้ดำเนินไปเป็นเวลาหลายปี
สุดท้าย เมื่อ 82 ก่อนคริสต์ศักราช เหล่าขุนนางก็ได้รับชัยชนะ ซุลลาเข้ามากุมอำนาจและกลายเป็นเผด็จการ
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar)
หลังจากที่แม่ทัพซุลลาเสียชีวิต
แม่ทัพกลุ่มอื่น ๆ ก็ขึ้นสู่อำนาจ หนึ่งในนั้นคือจูเลียส ซีซาร์
ผู้เป็นทั้งแม่ทัพ เป็นทั้งนักการเมืองและเผด็จการ ซีซาร์เกิดประมาณ 100 ก่อนคริสต์ศักราช ภายในตระกูลขุนนางเก่า
เขาเป็นคนที่มีความสามารถมากและความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ แต่การที่จะบรรลุถึงอำนาจอย่างแท้จริง
เขารู้ว่าเขาจะต้องชนะในสนามรบ
ผู้นำด้านทหาร
ครั้งแรก ซีซาร์ได้เห็นการดำเนินการทางทหารในเอเชียไมเนอร์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตุรกีในปัจจุบัน และในสเปน แต่เขาก็พิสูจน์ตัวเองในการเป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ในดินแดนกอล
ซึ่งเป็นพื้นที่รู้จักกันในขณะนี้ คือ ฝรั่งเศส (เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์
ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก
บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์)
เผ่ากอลส์
(the Gauls) คือ นักรบที่ดุร้าย แต่ในการรณรงค์ทางทหารที่ยอดเยี่ยม
ซีซาร์ ก็ตีเผ่ากอลส์จนพ่ายแพ้และยึดทั่วทั้งภูมิภาค ชัยชนะของเขา ทำให้ได้ในดินแดนใหม่และความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ให้โรม
ชัยชนะยังให้ชื่อเสียงและโชคลาภแก่ซีซาร์อีกด้วย
ซีซาร์ได้เขียนถึงความสำเร็จของเขาในกอลในไดอารี่ทางทหาร
ชื่อว่า Commentaries on the Gallic War (คำวิจารณ์เกี่ยวกับสงครามฝรั่งเศส)
งานนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่เขาในฐานะผู้เป็นหนึ่งในนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ของงานประพันธ์ร้อยแก้วของละติน
|
นักเผด็จการเพื่อชีวิต
นอกเหนือไปจากทักษะทางทหาร ซีซาร์ยังเป็นนักการเมืองที่ดีอีกด้วย
เขาได้รับชื่อเสียงในฐานะนักปฏิรูปที่สนับสนุนสามัญชน ข้อนี้บวกกับชื่อเสียงทางทหาร
ทำให้เขาเป็นที่นิยมของสามัญชน
แต่ซีซาร์ยังมีศัตรู
ชาวโรมันที่มีอำนาจจำนวนมากรวมทั้งวุฒิสมาชิกขุนนาง ได้ต่อต้านซีซาร์ หนึ่งในบรรดาฝ่ายตรงข้ามของเขา
คือ ซิเซโร (หรือ คิเคโร ตามสำเนียงละตินคลาสสิก - Cicero) กงสุลชาวโรมันคนสำคัญและอาจจะเป็นนักพูดผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โรมัน
ซิเซโรเป็นผู้สนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐที่เข้มแข็ง
เขาไม่ไว้ใจซีซาร์และความปรารถนาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของผู้ปกครอง
เมื่อซีซาร์กลับมาจากกอล
วุฒิสภาสั่งให้เขาทำลายกองทัพของตัวเอง แต่เขาได้นำทหารเข้าไปในอิตาลีและเริ่มต่อสู้เพื่อครอบครองกรุงโรมแทน
หลังจากหลายปีผ่านไป ซีซาร์ได้รับชัยชนะ เมื่อ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้กลับไปยังกรุงโรม
ซึ่ง ณ ที่นั่น เขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและกองทัพ ในปีเดียวกันนั้นวุฒิสภาได้แต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ปกครองโรมันแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อ 44 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ซีซาร์ถูกขนานนามว่า เป็นนักเผด็จการเพื่อชีวิต
เนื่องจากถูกต่อต้านตลอดถึงหกเดือน
การปฏิรูปของซีซาร์
ซีซาร์ปกครองในฐานะเป็นผู้ปกครองเผด็จการ แต่เขาเริ่มการปฏิรูปเป็นจำนวนมาก
เขาขยายวุฒิสภาโดยรวมผู้สนับสนุนจากประเทศอิตาลีและภูมิภาคอื่น ๆ เขายังบังคับใช้กฎหมายต่ออาชญากรรมและสร้างงานสำหรับคนยากจน
แม้จะมีการปฏิรูปเหล่านี้ ชาวโรมันบางพวกกลัวว่าซีซาร์จะสถานปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์
ไม่เพียง แต่เขาจะปกครองเป็นเวลาตลอดชีวิตเท่านั้น
แต่สมาชิกในครอบครัวของเขายังจะปกครองต่อจากเขาอีก ชาวโรมันมีความเกลียดชังต่อระบบกษัตริย์ตั้งแต่สมัยที่ชาวอีทรัสคันปกครอง
การลอบสังหารและมรดก
ความกังวลเกี่ยวกับการขยายอำนาจของซีซาร์ได้นำไปสู่ความหายนะของตนเอง วุฒิสภา
ซึ่งเป็นสภาสำหรับบริหารของโรม ไม่พอใจอำนาจของเขา ในวันที่ 15 มีนาคม เมื่อ 44 ปี
ก่อนคริสต์ศักราชบางส่วนของวุฒิสมาชิกก็ได้ปฏิบัติการ
วุฒิสภาจัดประชุมในวันที่เป็นลางร้าย วุฒิสมาชิกได้เข้ามาหนึ่งต่อหนึ่งและในที่สุดซีซาร์เดินเข้ามาในห้อง
เขาถูกล้อมรอบและลอบสังหารโดยกลุ่มวุฒิสมาชิก ในที่สุดผู้นำในการสมรู้ร่วมคิด
ก็ถูกฆ่าหรือฆ่าตัวตาย
นักประวัติศาสตร์ยังคงไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการปกครองของซีซาร์
เช่นเดียวกับชาวโรมันในเวลานั้น บางคนบอกว่าเขาเป็นนักปฏิรูปที่ทำงานเพื่อช่วยเหลือสามัญชน
บางคนบอกว่าเขาเป็นทรราชกำลังหิวอำนาจ อย่างไรก็ตาม การปกครองของซีซาร์และความตายของเขา
นำไปสู่การสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ
|
แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด
กำเนิดจักรวรรดิโรมัน
Subscribe to:
Posts (Atom)