แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
1 ศตวรรษแห่งความวิกฤติ
นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า การสิ้นสุดแห่งการครองราชย์ของจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius  - ค.ศ. 161-180) คือ จุดจบของสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่มีมาถึงสองศตวรรษ ซึ่งเรียกว่า สันติภาพโรมัน  (Pax Romana)  นักปกครองในศตวรรษต่อ ๆ มา มีความคิดเล็กน้อยหรือไม่มีความคิดในจัดการจักรวรรดิขนาดใหญ่และแก้ปัญหาที่กำลังรุมเร้า  จึงเป็นผลให้กรุงโรมเริ่มล่มสลาย
เศรษฐกิจโรมอ่อนแอ  ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่สาม มีหลายปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของกรุงโรมอ่อนแอลง ชนเผ่าที่เป็นศัตรูกันนอกขอบเขตของจักรวรรดิและโจรสลัดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาทำให้การค้าขายหยุดชะงัก เมื่อถึงขีดจำกัดในการขยายดินแดน ชาวโรมันจึงขาดแคลนแหล่งเงินทองแห่งใหม่ ๆ เมื่อหมดรายได้ รัฐบาลจึงขึ้นภาษี นอกจากนี้ยังเริ่มต้นทำเหรียญกษาปณ์ที่ผสมเงินน้อยลง ๆ  และมีความหวังที่จะสร้างเงินด้วยโลหะอันมีค่าคล้าย ๆ กันให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้า เศรษฐกิจก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลงอย่างรุนแรง สินค้ามีราคาสูงขึ้น
เกษตรกรรมก็เผชิญกับปัญหาร้ายแรงอย่างเท่าเทียมกัน การเก็บเกี่ยวในอิตาลีและยุโรปตะวันตกขาดแคลนมากขึ้น เนื่องจากดินถูกใช้งานมากเกินไป จึงสูญเสียความอุดมสมบูรณ์  ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะสงครามตลอดทั้งปีได้ทำลายพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก ในที่สุด การขาดแคลนอาหารอย่างร้ายแรงและโรคภัยไข้เจ็บก็แพร่กระจาย และจำนวนประชากรก็ลดลง
ความวุ่นวายทางทหารและทางการเมือง  ประมาณคริสต์ศตวรรษที่สาม ทหารโรมัน ก็ยังอยู่ในความระส่ำระสาย เมื่อเวลาผ่านไป ทหารโรมันทั่วไปมีระเบียบวินัยและมีความจงรักภักดีน้อยลง ทหารเหล่านั้นไม่ได้ให้ความจงรักภักดีต่อกรุงโรม แต่ให้ความจงรักภักดีต่อแม่ทัพที่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อราชบัลลังก์  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามต่อจักรวรรดิเพิ่มขึ้น  รัฐบาลเริ่มรับสมัครทหารรับจ้าง ซึ่งเป็นทหารต่างชาติที่ต่อสู้เพื่อเงิน ในขณะที่ทหารรับจ้างยอมรับค่าจ้างต่ำกว่าทหารโรมัน ทหารโรมันเหล่านั้นมีความรู้สึกจงรักภักดีต่อจักรวรรดิเพียงเล็กน้อย
ในที่สุด ความรู้สึกจงรักภักดีก็อ่อนแอลงโดยทั่วไปในหมู่ประชาชนเช่นกัน  ในอดีต ชาวโรมันได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการเป็นอย่าง จึงทำให้พวกเขาเต็มใจเสียสละชีวิตเพื่อความจงรักภักดี  สภาพการณ์ในศตวรรษต่อมาของอาณาจักรทำให้ประชาชนสูญเสียความรู้สึกชาตินิยม พวกเขากลายเป็นไม่ผู้ที่ไม่แยแสกับชะตากรรมของจักรวรรดิ
เหล่าจักรพรรดิพยายามปฏิรูป
กรุงโรมดำรงอยู่ได้เหมือนเดิมมาอีก 200 ปี อย่างน่าทึ่ง นี่เป็นเพราะส่วนใหญ่จักรพรรดิมีจิตใจในการปฏิรูปและการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็นสองส่วน

จักรพรรดิไดโอคลีเชียน (Diocletian) ปฏิรูปจักรวรรดิ           
ใน ค.ศ. 284 (พ.ศ. 827) ไดโอคลีเชียน คือผู้นำกองทัพผู้มีจิตใจเข้มแข็ง กลายเป็นจักรพรรดิคนใหม่ เขาปกครองด้วยกำปั้นเหล็ก (Iron Fist คือ ระบบเผด็จการ) และจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้ฟื้นฟูระเบียบคืนให้กับจักรวรรดิและพัฒนาความแข็งแกร่งให้กับจักรวรรดิ ไดโอคลีเชียนขยายกองทัพโรมันเป็นสองเท่า และพยายามควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยการจัดการราคาสินค้าให้คงที่ เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรีของตำแหน่งจักรพรรดิ เขาได้อ้างว่าจักรวรรดิได้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าโรมันโบราณและได้สร้างพิธีการอย่างประณีตในการแสดงตัวเองมีกลิ่นอายมาจากสวรรค์
จักรพรรดิไดโอคลีเชียนเชื่อว่าจักรวรรดิขยายตัวขนาดใหญ่เกินไปและซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้ปกครองคนเดียว บางทีในการปฏิรูปที่สำคัญที่สุดของเขา เขาได้แบ่งจักรวรรดิออกเป็นทางตะวันออกในหมู่คนที่พูดภาษากรีก (กรีซ อนาโตเลีย ซีเรียและอียิปต์) และทางตะวันตกในหมู่คนที่พูดภาษาละติน (อิตาลี กอล อังกฤษและสเปน) เขายึดเอาดินแดนทางตะวันออกไว้ให้ตัวเองและได้แต่งตั้งผู้ปกครองร่วมไปปกครองดินแดนทางตะวันตก ในขณะที่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนแบ่งอำนาจเขาก็ได้ควบคุมจักรวรรดิไว้โดยรวม  จักรวรรดิครึ่งหนึ่งทางตะวันออกรวมถึงเมืองที่ยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิส่วนใหญ่และศูนย์กลางการค้าขายและยังรวมถึงดินแดนห่างไกลโพ้นทะเลไปทางตะวันตก
เนื่องจากสุขภาพไม่ดี ไดโอคลีเชียนจึงปลดระวางตัวเอง ในปี ค.ศ. 305 (พ.ศ. 848) แต่อย่างไรก็ตาม แผนการที่จะสืบทอดอำนาจก็ล้มเหลว สงครามกลางเมืองก็เกิดขึ้นโดยทันทีทันใด  ประมาณ ค.ศ. 311 (พ.ศ. 854)  ก็มีผู้แข่งกันแย่งอำนาจ จำนวน 4 คน ในจำนวนนั้น มีผู้บัญชาการทหารหนุ่ม ผู้ทะเยอทะยานชื่อคอนสแตนติน (Constantine) คอนสแตนตินนี่แหละ ซึ่งต่อมาจะยุติการกดขี่ข่มเหงของชาวคริสต์
คอนสแตนติย้ายเมืองหลวง  คอนสแตนตินได้ยึดครองด้านตะวันตกของจักรวรรดิ ใน ค.ศ. 312 (พ.ศ. 855) และดำเนินตามนโยบายสังคมและเศรษฐกิจของไดโอคลีเชียนเป็นจำนวนมาก ใน 324 (พ.ศ. 867) คอนสแตนตินยังได้เข้าควบคุมการรักษาความปลอดภัยดินแดนด้านตะวันออก ดั้งนั้น จึงเป็นการกลับคืนมาของแนวคิดผู้ปกครองคนเดียว (เผด็จการ)
แผนที่กลุ่มชนต่าง ๆ เข้ารุกรานจักรวรรดิโรมัน ค.ศ. 350 - 500
ใน ค.ศ. 330 (พ.ศ. 873) คอนสแตนตินได้ดำเนินการเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ เขาได้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมไปยังเมืองไบแซนเทียมของชาวกรีก (Byzantium)  ซึ่งปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล (Istanbul) ในตุรกี เมืองหลวงใหม่ตั้งอยู่บนช่องแคบบอสฟอรัส (Bosporus Strait) ซึ่งในเชิงกลยุทธ์ ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าและการป้องกันในทางแยกระหว่างตะวันตกและตะวันออก
เมื่อไบแซนเทียมเป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางของอำนาจในอาณาจักร จึงได้เปลี่ยนจากกรุงโรมไปทางด้านตะวันออก  ในไม่ช้า เมืองหลวงใหม่จึงตั้งตระหง่านมีการป้องกันด้วยกำแพงขนาดใหญ่และเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องอันโอ่อ่า ซึ่งถอดแบบมาจากกรุงโรม  ในที่สุด เมืองนี้จึงได้ชื่อใหม่ ว่า คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือ คอนสแตนติน (Constantine) หลังจากคอนสแตนตินเสียชีวิต จักรวรรดิได้ถูกแบ่งออกอีกครั้ง ทางตะวันออกยังคงดำรงอยู่ต่อมา ทางตะวันตกได้ล่มสลาย
จักรวรรดิทางตะวันตกล่มสลาย
การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่าน ครั้งสุดท้าย เป็นผลมาจากการความเลวร้ายจากปัญหาภายใน การแยกตัวของจักรวรรดิด้านตะวันตกออกจากจักรวรรดิด้านตะวันออกซึ่งมั่งคั่งกว่า และการรุกรานจากภายนอก
การรุกรานของชนชาติเยอรมนี  นับตั้งแต่ยุคของจูเลียส ซีซาร์ ชนชาติเยอรมนี เข้ามารวมกันทางพรมแดนด้านเหนือของจักรวรรดิและอยู่ร่วมกันอย่างสงบที่กรุงโรม ประมาณ ค.ศ. 370  (พ.ศ. 913) ดินแดนทั้งหมดนั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อชนชาติมองโกลจากเอเชียกลาง คือ ชาวฮั่น ได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ภูมิภารนี้และเริ่มทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางทางพวกเขา
ชาวเยอรมันพยายามหลบหนีชาวฮั่น จึงอพยพเข้าไปสู่ดินแดนโรมัน  (ชาวโรมันจึงเรียกว่าผู้บุกรุกทุกคน "พวกป่าเถื่อน"  ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่ไม่ใช่ชาวโรมัน)พวกเขายังคงอพยพผ่านภูมิภาคกอลของโรมัน สเปนและแอฟริกาเหนือ จักรวรรดิด้านตะวันตกก็ไม่สามารถตั้งกองทัพหยุดพวกฮั่นได้  ใน ค.ศ. 410  (พ.ศ. 953) กองทัพเยอรมันบุกรุกกรุงโรมและปล้นสะดมกรุงโรมเป็นเวลาสามวัน

กะโหลกศีรษะนี้ยังคงมีเส้นผมอยู่ แสดงให้เห็นมวยผมชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวเจอร์แมนิกบางพวกสวมเพื่อบ่งชี้ตัวตน


อัตติลา จอมทัพคนเถื่อน (Attila the Hun) ในขณะเดียวกัน ชาวฮั่นซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการโจมตีกลุ่มชนเจอร์แมนิกในจักรวรรดิโดยทางอ้อม ก็กลายเป็นภัยคุกคามโดยตรง ในปี ค.ศ. 444 (พ.ศ. 987) ชาวฮั่นก็รวมตัวเป็นเอกภาพเป็นครั้งแรกภายใต้ประมุขผู้ทรงอำนาจ ชื่อว่า อัตติลา (Attila) มีทหาร 100,000 คน อัตติลาได้คุกคามจักรวรรดิทั้งสองซีก ในซีกตะวันออก ไพร่พลของเขาได้โจมตีและปล้นเมือง 70 เมือง (พวกเขาพลาดในการโจม แต่ก็ไต่ขึ้นสู่กำแพงสูงของกรุงคอนสแตนติโนเปิล)  ครั้นแล้ว ชาวฮั่นก็กวาดล้างไปทางซีกตะวันตก ในปี ค.ศ. 452 (พ.ศ. 995) กองกำลังของอัตติลาก็มุ่งหน้าไปสู่กรุงโรม แต่ความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บ ก็ป้องกันไม่ให้เมืองถูกโจมตีได้ แม้ว่าชาวฮั่นเป็นภัยคุกคามต่อจักรวรรดิได้ไม่นานหลังจากอัตติลาเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 453 (พ.ศ. 996) การรุกรานกลุ่มชนชาวเจอร์แมนิกก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

จักรวรรดิสูญสิ้น  จักรพรรดิโรมันคนสุดท้าย เป็นเด็กชายอายุ 14 ปีชื่อโรมุลุส เอากุสตุส (Romulus Augustulus) ถูกกองทัพเจอร์แมนขับไล่ ในปี ค.ศ. 476 (พ.ศ. 1019) หลังจากนั้น ก็ไม่มีจักรพรรดิแม้กระทั่งจะมาอ้างสิทธิปกครองกรุงโรมและจังหวัดทางตะวันตกของจักรวรรดิ อำนาจของโรมันในซีกตะวันตกของจักรวรรดิก็ได้สูญหายไป
ทางซีกตะวันออกของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาเรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)  ไม่เพียงแต่คงอยู่รอดปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังมีความเจริญรุ่งเรืองด้วย  จักรวรรดิได้รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของกรีกและวัฒนธรรมโรมันต่อมาอีกเป็นเวลา 1,000 ปี  จักรพรรดิไบแซนไทน์ปกครองตั้งแต่กรุงคอนสแตนติโนเปิลและเห็นว่าตัวเองเป็นทายาทสืบทอดอำนาจของออกัสตัส ซีซาร์ (Augustus Caesar) จักรวรรดิได้ยืนหยัดมาจนถึงปี ค.ศ. 1453 (พ.ศ. 1996) ครั้นแล้วจักรวรรดิก็ล่มสลายตกไปอยู่ใต้อำนาจของออตโตมันเติร์ก (Ottoman Turks)

แม้ว่าอำนาจทางการเมืองของกรุงโรมในซีกตะวันตกจะสิ้นสุดลง แต่อิทธิพลทางวัฒนธรรมก็ไม่ได้สูญสิ้นไปด้วย  แนวความคิด ขนบธรรมเนียม และสถาบันทั้งหลาย ก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของอารยธรรมตะวันตกและยังคงดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน