แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

กำเนิดกรุงโรม

กำเนิดกรุงโรม
           ประวัติศาสตร์ของกรุงโรมโบราณเริ่มต้นขึ้นด้วยการล้มล้างจากกษัตริย์ต่างเมือง เมื่อ 509 ก่อนคริสต์ศักราช  แต่ชาวโรมันชอบนับประวัติศาสตร์เมืองของตนเอง ย้อนไปเมื่อ 753 ปี ก่อนคริสต์ศักราช นั่นคือ เมื่อตำนานวีรบุรุษ ชื่อ รอมิวลุส (Romulus) ได้รับการกล่าวกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งกรุงโรม
ตำนานเป็นเรื่องเล่าที่ได้รับความนิยมจากยุคก่อนซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้  ตำนานเกี่ยวกับการสถาปนากรุงโรมเริ่มต้นด้วยอีเนียส (Aeneas) วีรบุรุษของสงครามเมืองทรอยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอิตาลีหลังจากที่เมืองทรอยถูกทำลาย


การก่อตั้งกรุงโรม ตำนานเดินเรื่องฝาแฝดรอมิวลุสและเรมุส (Remus) ลูกหลานของอีเนียสผู้ก่อตั้งกรุงโรม ทั้งสองถูกแม่ทิ้ง แต่ได้รับการช่วยเหลือจากหมาป่า เมื่อฝาแฝดเติบโตขึ้นก็ได้แย่งชิงสถานที่ตั้งกรุงโรม รอมิวลุสได้ฆ่าน้องชายของเขาและได้ลากเส้นขอบเขตของกรุงโรมรอบเนินพาลาทินี (Palatine Hill)
หลังจากรอมิวลุสเสียชีวิต กษัตริย์โรมันก็ได้ปกครองเมืองมาตามลำดับ  อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 6 (600 ปี) ก่อนคริสต์ศักราช  พวกอีทรัสคัน (Etruscans) จากภาคเหนือของอิตาลี ได้พิชิตกรุงโรม เพื่อที่จะฟื้นฟูการปกครองตนเอง ชาวโรมันได้โค่นล้มกษัตริย์ชาวอีทรัสคันและก่อรูปแบบสาธารณรัฐ เมื่อ 509 ปี ก่อนคริสต์ศักราช สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐ ซึ่งประชาชนเลือกตัวแทนมาปกครองในนามของพวกเขา

ภูมิศาสตร์และการดำรงชีวิตช่วงแรกของโรม
หลังจากที่ล้มล้างชาวอีทรัสคัน  กรุงโรมก็เจริญรุ่งเรืองจากเมืองเป็นประเทศและในที่สุดก็กลายเป็นจักรวรรดิ เนื่องจากมีทำเลที่ดี

หุบเขาและแม่น้ำ ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานพวกแรกของกรุงโรม คือ พวกละติน (ชาวโรมันโบราณ) ซึ่งเดินทางมาจากบริเวณรอบกรุงโรม แล้วเลือกตำแหน่งที่มีอากาศสบาย ที่ดินสำหรับการเพราปลูกที่ดีและที่ตั้งทางยุทธศาสตร์
ชาวละตินและผู้ที่ตั้งถิ่นฐานต่อมา ได้สร้างกรุงโรมที่เนินเขาลาดชัน 7 ลูก ในเวลากลางวัน ผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจะทำไร่ไถนาพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์ที่เชิงเขา ในเวลากลางคืน พวกเขากลับไปยังบ้านที่อยู่บนยอดเขา เพื่อปกป้องตัวเองจากการโจมตี
โรมมีข้อดีอื่น ๆ อีก คือ ตั้งอยู่ไม่ไกลทะเลเมดิเตอร์เรเนียนบนเส้นทางการค้าสมัยโบราณ   นอกจากนี้ยังตั้งออยู่ถัดจากแม่น้ำไทเบอร์   แม่น้ำสายนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนากรุงโรม เพราะมันเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและการดื่ม

คาบสมุทรอิตาลี สถานที่ตั้งของกรุงโรมบนคาบสมุทรอิตาลียังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคาบสมุทรอีกด้วย  คาบสมุทรทอดเหยียดยาวไปทางใต้จากยุโรปไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สถานที่ตั้งของอิตาลีบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทำให้ชาวโรมันเดินเรือไปยังดินแดนอื่นที่อยู่รอบ ๆ ทะเล ค่อนข้างง่าย  ตำแหน่งนี้ช่วยกรุงโรมให้ได้รับชนะและได้รับดินแดนใหม่ในที่สุด  นอกจากนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาเส้นทางการค้า
อิตาลีมีเทือกเขาหลักสองลูกช่วยป้องกันกรุงโรม คือ เทือกเขาแอลป์ (the Alps) ชายแดนอิตาลีทางตอนเหนือและเทือกเขาแอเพนไนน์ (Apenines) เป็นกระดูกสันหลังของอิตาลี ทอดยาวลงไปสู่คาบสมุทร ยาวกว่า 800 ไมล์ (ประมาณ1,280 กิโลเมตร) อิตาลียังมีที่ราบขนาดใหญ่ที่เหมาะสำหรับการทำการเกษตร

การดำรงชีวิตด้านการเกษตร ชาวโรมันในยุคแรกส่วนมากใช้งานที่ดินแปลงเล็ก ๆ  พวกเขาปลูกธัญพืช เช่น ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ และปลูกถั่ว ผักและผลไม้ ต่อมาชาวโรมันได้เรียนรู้การปลูกมะกอก (olive) และองุ่น พวกเขาส่งเสริมการเลี้ยงสุกร แกะ แพะ และไก่ และใช้วัวสำหรับลากไถ  ในกรุงโรมสมัยโบราณ  เกษตรกรที่ร่ำรวยเท่านั้น จึงสามารถเก็บเกี่ยวพืชผลครั้งแรก และปลูกองุ่นได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี


ตอนแรก เกษตรกรชาวโรมันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านที่เรียบง่ายที่ทำจากโคลนหรือไม้ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์มากมาย นอกจากนี้ เกษตรกรยังอาศัยอยู่เป็นครอบครัวแบบขยายซึ่งมีปู่ย่าตายาย ป้าและลุง หลานสาวและหลานชายและญาติ ๆ
การพัฒนาคุณภาพของวินัย ความจงรักภักดี และการทำงานอย่างหนัก ของเกษตรกรในยุคแรกเหล่านี้ ช่วยให้กรุงโรมประสบความสำเร็จ  พวกเขามีคุณภาพจนทำให้กองทัพโรมันประสบความสำเร็จเป็นอันมาก  เมื่อทหารเข้าสู่สงคราม พวกเขาจะต้องทำตามคำสั่งและทำงานของพวกเขา ทัศนคติแบบนี้ได้ช่วยให้กรังโรมพิชิตอิตาลีทั้งหมด

กำเนิดการปกครองแบบสาธารณรัฐ
ในขณะที่กรุงโรมพัฒนาเป็นอารยธรรมที่ซับซ้อน ก็มีชนชั้นสองจำพวกเกิดขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างพวกเขา นำไปสู่​​ความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ความขัดแย้งนี้ก็ได้กำหนดสิทธิการเป็นพลเมืองโรมันและสิทธิมนุษยชนของประชาชนภายใต้กฎหมายโรมัน เป็นเวลา 500 ปี ถัดมา ชาวโรมัน ได้ดำเนินการภายใต้ระบบการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสำหรับหลายชาติที่เป็นประชาธิปไตยในปัจจุบันนี้

ขุนนางและสามัญชน ในกรุงโรมโบราณ เหล่าขุนนาง (patricians) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง เป็นเศรษฐีเจ้าของที่ดิน ยึดครองตำแหน่งรัฐบาลระดับสูง เหล่าสามัญชน (plebeian) เป็นไพร่ที่ได้รับอนุญาตให้ออกเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ครองตำแหน่งในรัฐบาลในกรุงโรมโบราณ
ความไม่พอใจต่ออำนาจของเหล่าขุนนาง ก่อให้เกิดความตึงเครียด ในที่สุด เหล่าขุนนาง ได้ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ  ประมาณ 450 ปี ก่อนคริสต์ศักราช กฎหมายสิบสองโต๊ะ ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ขั้นพื้นฐานสำหรับพลเมืองโรมัน

รัฐบาลแบบสาธารณรัฐ ผู้นำของสาธารณรัฐโรมัน ได้จัดตั้งรัฐบาลไตรภาคี (tripartite) รัฐบาลประเภทนี้ มีสามฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ฝ่ายตุลาการตีความกฎหมายในศาล และฝ่ายผู้บริหารบังคับใช้กฎหมายของประเทศ

ไตรภาค ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาลโรมันรวมถึงวุฒิสภาและสมัชชา วุฒิสภามีกลุ่มสมาชิกผู้ทรงอำนาจ 300 คน ที่ให้คำแนะนำผู้นำโรมัน วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่เป็นขุนนาง สมัชชา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสามัญชน ผู้แทนราษฎรของพวกเขาได้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสามัญชน
ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยผู้พิพากษาแปดคน เข้าประจำตำแหน่ง เป็นเวลาหนึ่งปี พวกเขาเป็นคนควบคุมศาลและบริหารภูมิภาค
กงสุลสองคน ได้เป็นผู้นำฝ่ายบริหารของกรุงโรม พวกเขาควบคุมกองทัพและกำกับรัฐบาลเป็นเวลาหนึ่งปี กงสุลแต่ละคนมีอำนาจที่จะยับยั้งหรือลบล้างฝ่ายอื่น ๆ
ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ กงสุลสามารถเลือกผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองในสถานที่ของพวกเขาเป็นระยะเวลาที่จำกัด เมื่อ 458 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้ชายคนหนึ่งชื่อ ซินซินาตัส (Cincinnatus) ถูกสร้างขึ้นมาเป็นเผด็จการเพื่อปกป้องโรมจากการโจมตี  ตามตำนานเขาพิฆาตศัตรูและคืนอำนาจกลับไปให้กงสุลในวันเดียว
 
รูปปั้นเทพีโรมา (Goddess Roma)
รูปปั้นเทพีโรมา (Goddess Roma) สัญลักษณ์กรุงโรม
ชาวโรมเชื่อว่า คอยปกป้องเมืองของตน

 
แผนที่เน้ินเขา 7 ลูกแห่งกรุงโรม
แผนที่เน้ินเขา 7 ลูกแห่งกรุงโรม
 
Palatine Hill
Palatine Hill ร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน นับตั้งแต่ประมาณ 1,000 ปี ก่อน ค.ศ

 
ไร่องุ่น
 ไร่องุ่นยังคงเป็นที่นิยมในอิตาลี

 
จตุรัสโรมัน
ซากปรักหักพังของจตุรัสโรมัน ศูนย์กลางศาสนา วัฒนธรรมและการเมืองของกรุงโรม
ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในยุคแรกแห่งการปกครองแบบสาธารณรัฐ วุฒิสภาจะมาประชุมกัน
ในตึกเล็ก ๆ ในสภาพแห่งนี้


การขยายตัวของสาธารณรัฐ
เป็นเวลาหลายร้อยปีหลังจากที่ก่อตั้งระบบการปกครองสาธารณรัฐ  กรุงโรมก็ได้ขยายดินแดน  เมื่อ 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ชาวโรมัน ได้ครอบครองอิตาลีตอนกลาง ในที่สุดพวกเขาก็พิชิตพวกอีทรัสคันไปจนถึงทิศเหนือและนครรัฐกรีกไปจนถึงทิศใต้ เมื่อ 275 ก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรอิตาลีทั้งหมด ก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวโรมัน
โดยทั่วไป กรุงโรมไม่ได้กำหนดกฎที่รุนแรงต่อประชาชนที่พิชิตได้ สาธารณรัฐ ได้มอบความเป็นพลเมืองโรมันให้กับพวกเขาเป็นส่วนมากและได้อนุญาตให้พวกเขาปกครองตนเอง ในทางกลับกัน ประชาชนใหม่จะต้องจ่ายเงินภาษีและจัดหาทหารให้กองทัพโรมัน

สงครามพิวนิค โรมจำเป็นต้องใช้ทหารเหล่านี้ไปรบในสงครามพิวนิค (Punic Wars) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ 264 ก่อนคริสต์ศักราช สงครามเหล่านี้เป็นชุดหนึ่งในสงครามสามครั้งกับเมืองคาร์เธจ เมืองที่อุดมไปด้วยการค้าขายในแอฟริกาเหนือ  ครั้งหนึ่ง เมืองคาร์เธจเคยเป็นอาณานิคมของฟีนิเซีย (Phoenicia – ปัจจุบันอยู่ในประเทศซีเรีย) ซึ่งเป็นกลุ่มของนครรัฐที่ค้าขายทางทะเลบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  Punic มาจากคำภาษากรีกว่า Phoenician
โรมได้รับชัยชนะสงครามพิวนิคทุกครั้ง แต่ครั้งที่เกือบทัพแตก ฮันนิบาล (Hannibal) แม่ทัพจากเมืองคาร์เธจ ได้ข้ามเทือกเขาแอลป์ด้วยฝูงช้างและเกือบเข้ายึดกรุงโรมได้ แม่ทัพชาวโรมัน ชื่อ สคิปิโอ (Scipio) ได้คิดแผนการโจมตีเมืองคาร์เธจ แผนนี้ ได้บังคับให้แม่ทัพฮันนิบาลกลับไปยังแอฟริกาเพื่อปกป้องเมืองบ้านเกิดของเขา  เมื่อ 202 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในยุทธการซามา (Zama) ใกล้เมืองคาร์เธจ ในที่สุด โรมันมีชัยต่อแม่ทัพฮันนิบาล

เมื่อ 146 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในสงครามพิวนิคครั้งที่สาม  โรมได้ล้อมโจมตีเมืองคาร์เธจ ในที่สุด โรมก็ยึดและทำลายเมืองได้ เมืองคาร์เธจก็ลุกเป็นไฟและพลเมือง 50,000 คนที่ อาศัยอยู่ในเมืองก็ถูกขายไปเป็นทาส ดินแดนแห่งเมืองคาร์เธจก็ถูกสร้างขึ้นเป็นจังหวัดของโรมัน
ชัยชนะของกรุงโรมในสงครามพิวนิคทำให้มีอำนาจเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านทิศตะวันตก ครั้นแล้ว ชาวโรมันก็ได้เดินทางไปพิชิตทางทิศตะวันออกได้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุด อาณาจักรเมดิเตอร์เรเนียนแห่งกรุงโรม ก็ยาวเหยียดจากกรีซทางทิศตะวันออกไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberia) ในทิศตะวันตก

ผลของการขยายตัว ทหารโรมันนำความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่และทาสจำนวนมากกลับไป พวกเขาได้ซื้อที่ดินขนาดใหญ่และทำไร่ไถนาด้วยแรงงานทาส แต่เนื่องจากเกษตรกรตัวเล็กจำนวนมากไม่สามารถแข่งขัน พวกเขาสูญเสียไร่นา
ด้วยเหตุนั้น การว่างงานและความยากจนจึงเพิ่มขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนขยายตัวกว้างขึ้น ในทางกลับกัน ข้อนี้ ก่อให้เกิดความโกรธและความตึงเครียดระหว่างชนชั้นมากขึ้น ในหมู่คนอื่น ๆ  ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้โค่นล้มระบบสาธารณรัฐ

แผนที่สงครามพิวนิก
แผนที่สงครามพิวนิก  264 - 146 ปี ก่อน ค.ศ.