แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

การอพยพของชาวบันตู

การอพยพของชาวบันตู

ประวัติศาสตร์ของมนุษย์มีการอพยพเป็นชุด ๆ อย่างต่อเนื่อง การขัดแย้งกัน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพมากขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ ผู้คนเลือกที่จะถอนรากถอนโคนตัวเองและย้ายไปสำรวจโลกของพวกเขา บางครั้ง พวกเขาอพยพไปเพื่อการค้นหาโอกาสใหม่ ๆ  ช่วงเวลาที่เหลือ การโยกย้ายมีความพยายามอย่างยิ่งในการหาสถานที่เพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อมีชีวิตอยู่อย่างสันติสุข

การอพยพของผู้คน
เนื่องจากเป็นรูปแบบที่สำคัญในวัฒนธรรมของมนุษย์  การโยกย้ายจึงมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์โลกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การโยกย้ายเป็นไปอย่างถาวรจากประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคหนึ่ง

สาเหตุของการอพยพ  นอกเหนือจากความปรารถนาของมนุษย์ทั่วไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว สาเหตุของการโยกย้ายมีอยู่สามประเภท คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและการเมือง ในประวัติศาสตร์ช่วงแรกของชีวิตมนุษย์  ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเข้มแข็งที่สุด ต่อมา สาเหตุทางเศรษฐกิจและการเมืองก็มีบทบาทที่มากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ในศตวรรษที่ 15 แรงขับเพื่ออำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน ได้ผลักดันให้พวกเขาไปทั่วทุกมุมโลกโบราณเพื่อสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ ในขณะที่โลกกลายมาเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากย้ายไปยังเมืองเพื่อทำงานในโรงงาน  ในที่อื่น ๆ การกดขี่ทางศาสนา (หมายถึงศาสนาคริสต์) หรือเชื้อชาติที่รัฐบาลให้การสนับสนุน มักจะขับเคลื่อนกลุ่มคนให้หนีไปเพื่อความอยู่รอด ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปในศตวรรษที่สิบเจ็ด หลั่งไหลไปสู่อเมริกาด้วยความหวังในการยอมรับความคิดเห็นทางศาสนา เพื่อที่ดินทำการเกษตรหรือเพื่อภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
เมื่อสำรวจการย้ายถิ่นฐาน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์จะกล่าวถึงปัจจัยแรงผลัก-แรงดึง ปัจจัยเหล่านี้ทั้งผลักดันผู้คนออกจากพื้นที่หรือดึงให้ผู้คนไปสู่พื้นที่ ตัวอย่างของปัจจัยแรงดึงทางสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่ดึงดูดผู้คน อีกประการหนึ่ง การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติบังคับให้ผู้คนออกไปจากที่ตั้ง เป็นปัจจัยแรงผลักดัน การจ้างงานหรือขาดงานเป็นผลักดันทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยแรงดึง เงื่อนไขทางการเมืองเช่นเสรีภาพหรือการข่มเหงสามารถกระตุ้นให้ผู้คนอพยพหรือจะอยู่ ณ สถานที่พวกเขาอยู่ การเกิดเป็นเมืองก็ยังทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน เพราะโอกาสในการทำงานและผลประโยชน์อื่น ๆ ดึงดูดผู้คน แผนภูมิด้านล่างแสดงให้เห็นสาเหตุของการย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยแรงผลัก-แรงดึง

ผลกระทบจากการอพยพ  ชีวิตในพื้นที่ที่มีประชากรเพิ่งอพยพมาใหม่ มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการไหลเข้าของผู้คนใหม่กลุ่ม ๆ ผลของการย้ายถิ่นฐานอาจจะเป็นทางบวกหรือทางลบ
การกระจายของประชากร อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของประชากร
อาจจะเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมภาษาหรือวิถีชีวิตขึ้นได้
อาจจะมีการใช้แนวคิดและเทคโนโลยีร่วมกัน
คุณภาพชีวิตของประชาชนอาจจะดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการอพยพ
การปะทะกันระหว่างกลุ่ม อาจสร้างความไม่สงบ ประหัตประหารหรือแม้กระทั่งสงคราม
สภาพแวดล้อมอาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก่อให้เกิดความอดอยากหรือทรัพยากรธรรมชาติหมดลง
โอกาสการจ้างงานอาจจะหมดไป ซึ่งก่อให้เกิดการว่างงานและความยากจน
การอพยพเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ที่อพยพและของผู้คนในชุมชนที่พวกเขาตั้งรกรากด้วย ทั้งสองกลุ่มอาจจำเป็นต้องทำการปรับตัวในแนวทางที่พวกเขาดำเนินชีวิต การปรับปรุงบางอย่างอาจจะค่อนข้างทำได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นอาจจะปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ได้ การปรับปรุงอื่น ๆ อาจจะยากมากขึ้นและอาจจะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลานานแห่งยุค หนึ่งในการปรับปรุงเหล่านี้อาจจะรวมถึงภาษาด้วย


ย้อนรอยการอพยพผ่านทางภาษา  วิธีหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถย้อนรอยตามรูปแบบของการอพยพของผู้คนในช่วงเวลาหนึ่ง คือ โดยการศึกษาการแพร่กระจายของภาษา ผู้คนนำภาษาของตนเองไปด้วย เมื่อพวกเขาย้ายไปยังสถานที่ใหม่ และภาษาก็เหมือนกับคนที่พูด คือ เป็นสิ่งที่มีชีวิตชีวิตที่มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในวิถีทางที่คาดเดาได้ หากภาษาสองภาษามีคำที่คล้ายกันสำหรับวัตถุหรือความคิดโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ว่าคนที่พูดภาษาเหล่านั้นอาจจะมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในยุคหนึ่ง
ผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษาภาษาในทวีปแอฟริกา บรรดาภาษาแอฟริกันกลุ่มหนึ่ง คือ  ภาษาไนเจอร์-คองโก รวมถึงภาษาเฉพาะกลุ่มมากกว่า 900 ภาษา ตระกูลของภาษาในกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพ่อแม่ภาษาเดียว คือ ภาษาบุนตูดั้งเดิม (Proto-Bantu) นักมานุษยวิทยาหลายคน เชื่อว่า ภาษาที่แผ่กระจายไปทั่วแอฟริกา อันมีผลมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัจจุบันในแอฟริกา ผู้พูดภาษาบันตูอาศัยอยู่ในภูมิภาคตั้งแต่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราจนถึงตอนปลายของทวีปแอฟริกา  ภาษาบันตูเป็นภาษาแรกเกือบหนึ่งในสามของทวีปแอฟริกาทั้งหมด

การอพยพเริ่มขึ้น  ผู้พูดภาษาบันตูไม่ใช่คนเดียว แต่ค่อนข้างจะเป็นกลุ่มของประชาชนที่ใช้ลักษณะทางวัฒนธรรมบางอย่างร่วมกัน พวกเขาเป็นเกษตรกรและเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ ผู้พัฒนาและพูดต่อ ๆ กันผ่านทักษะงานตีเหล็ก ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าพวกเขามีความสัมพันธ์กับคนเผ่า Nok
เริ่มต้นอย่างน้อยเมื่อ 2,000 ปีที่ผ่านมาหรือก่อนหน้านี้ กลุ่มของคนที่พูดภาษาบันตูกลุ่มเล็ก ๆ เริ่มอพยพไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก เทคนิคการทำการเกษตรที่คนเหล่านี้ใช้ ได้บังคับให้พวกเขาอพยพย้ายถิ่นฐานทุก ๆ สองสามปี เทคนิคที่เรียกว่า ตัดและเผา การตัดและเผาป่าทำให้เป็นรอยหย่อม ขี้เถ้าผสมเข้ากับดินทำให้พื้นที่สวนอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามที่ดินที่สูญเสียความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็วและถูกละทิ้งเพื่อหาที่ดินอีกแปลงในสถานที่ใหม่ เมื่ออพยพ ผู้พูดภาษาบันตูก็ใช้ทักษะของพวกเขาร่วมกันกับคนที่พวกเขาได้พบ ดัดแปลงวิธีการของพวกเขาเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ แต่ละแห่งและเรียนรู้ขนบธรรมเนียมใหม่ พวกเขาเดินตามแม่น้ำคองโกผ่านป่าดงดิบ ณ ที่นั่นพวกเขาได้ทำไร่ไถนา ณ ฝั่งแม่น้ำ-สถานที่เดียวที่ได้รับแสงแดดเพียงพอเพื่อสนับสนุนการเกษตร
ขณะที่พวกเขาอพยพไปทางทิศตะวันออกสู่ทุ่งสะวันนา  พวกเขาได้รับเอาเทคนิคการเลี้ยงแพะและแกะมาเลี้ยงโคนม เมื่อผ่านสถานที่ซึ่งปัจจุบันนี้คือเคนยาและแทนซาเนีย พวกเขาได้เรียนรู้การปลูกพืชชนิดใหม่ พืชดังกล่าวชนิดหนึ่ง คือ กล้วย ซึ่งมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย






Bantu Migration

สาเหตุของการย้ายถิ่นฐาน  แม้จะเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ว่าสิ่งใดทำให้ผู้คนที่พูดภาษาบันตูอพยพอย่างแท้จริง  นักมานุษยวิทยาได้เสนอคำอธิบายแนวตรรกะ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อคนเหล่านี้ได้พัฒนาการเกษตรของตนเอง มีความสามารถในการผลิตอาหารมากกว่าที่จะได้รับจากการล่าสัตว์และเก็บสะสม เป็นผลให้ประชากรของแอฟริกาตะวันตกเพิ่มขึ้น เพราะเหตุที่ประชากรขยายนี้จำเป็นต้องมีอาหารมากขึ้น ผู้คนที่พูดภาษาบันตูยุคแรกสุดจึงเพาะปลูกมากขึ้น ในไม่ช้า ก็ไม่มีที่ดินพอที่จะหมุนเวียน พวกเขาไม่สามารถเดินทางไปทางทิศเหนือเพื่อค้นหาที่ดิน เพราะบริเวณเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น พื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาก็กลายเป็นเหมือนทะเลทรายมากขึ้น  ทะเลทรายซาฮาราค่อย ๆ รุกล้ำทุ่งหญ้าเหล่านั้น ดังนั้น ผู้คนจึงได้อพยพไปทางทิศใต้
ชาวบันตูอาจจะนำเอาเทคโนโลยีการถลุงเหล็กมากับพวกเขา ขณะที่พวกเขาอพยพไปทางทิศใต้ พวกเขากำลังมองหาสถานที่ที่มีทรัพยากรแร่เหล็กและป่าไม้เนื้อแข็ง พวกเขาต้องการไม้เนื้อแข็งเพื่อเอามาทำถ่านเชื้อเพลิงให้กับเตาหลอม
ขณะที่คุณดูจากแผนที่ การอพยพแยกย้ายไปทางตะวันออกและตะวันตกเป็นคลื่น ๆ ในที่สุด ผู้พูดภาษาบันตู เดินทางรอบเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของทะเลทรายคาราฮารี (Kalahari) และนามิบ (Namib) ภายใน 1,500 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาอันสั้นในช่วงของประวัติศาสตร์ พวกเขามาถึงทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ผู้คนที่พูดภาษาบันตูในช่วงนี้มีประชากรมากที่สุดในทางตอนใต้ครึ่งหนึ่งของทวีปแอฟริกา

ผลกระทบจากการอพยพ  เมื่อผู้คนที่พูดภาษาบันตูตั้งรกรากบนพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ดินแดนที่พวกเขาครอบครองไม่มีผู้อาศัยเลย บางพื้นที่ที่ชาวบันตูอพยพเข้าไป มีประชากรเบาบาง เช่น ชาว Bambuti และชาว San ชาวแอฟริกันเหล่านี้ไม่ใช่ชาวบันตู พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการเกษตร แต่เข้ามาแทนที่ชนเผ่าเร่ร่อนล่าสัตว์ พวกเขาต้องหาวิธีอยู่ร่วมกันกับชาวบันตู ละทิ้งวิถีทางของตนเองหรือปกป้องดินแดนและวิถีชีวิตของตนเอง


ในขณะที่ผู้คนที่พูดภาษาบันตูแพร่กระจายไปทางใต้ในดินแดนของเผ่าชนเร่ร่อนล่าสัตว์ สงครามแย่งดินแดนมักจะระเบิดขึ้นทันที ด้วยการต่อสู้ด้วยหอกเหล็กปลายแหลม สมาชิกใหม่จะขับไล่ชาว Bambuti และชาว San ที่มีแต่อาวุธหินออกไปอย่างง่ายดาย ปัจจุบันนี้ ชาว Bambuti จะถูกจำกัดให้อยู่ในมุมของลุ่มน้ำคองโก ชาว San อาศัยอยู่แต่รอบ ๆ ทะเลทราย Kalahari ทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ แอฟริกาใต้ นามิเบีย และบอตสวานา ทั้งสองกลุ่มมีชีวิตที่เลียบง่ายมาก พวกเขาไม่พูดภาษาบันตูและวัฒนธรรมของพวกเขาไม่ได้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู
กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตูได้แลกเปลี่ยนความคิดและแต่งงานระหว่างกันและกันกับคนที่พวกเขาติดต่อสัมพันธ์  การผสมผสานเข้าด้วยกันนี้ ได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ที่มีขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ไม่ซ้ำกัน กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู ได้นำเทคนิคการเกษตรแบบใหม่ไปยังดินแดนที่พวกเขาเข้าครอบครอง พวกเขาได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำเหล็กเพื่อหลอมเครื่องมือและอาวุธจากทองแดง สัมฤทธิ์และเหล็ก พวกเขายังได้ร่วมกันคิดเกี่ยวกับการจัดองค์กรทางสังคมและการเมือง ความคิดเหล่านี้บางส่วนยังคงมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในแอฟริกาตะวันออกและใต้ แม้ว่า การย้ายเข้ามาของชาวบันตูจะก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม ภาษามีอิทธิพลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทวีป




กรณีศึกษา : กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู
การอพยพครั้งใหญ่
ชาวแอฟริกันยุคแรกได้โยกย้ายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดบางส่วนในประวัติศาสตร์ เมื่อการโยกย้ายสิ้นสุดลง พวกเขาหรือลูกหลานของพวกเขา ได้ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้เศษหนึ่งส่วนสามของทวีป  เริ่มต้นในสองสามศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล และอพยพต่อเนื่องมากกว่า 1,500 ปีที่ผ่านมา กลุ่มเล็ก ๆ อพยพไปทางทิศใต้ทั่วทวีปแอฟริกา แพร่กระจายภาษาและวัฒนธรรมของพวกเขา  นักประวัติศาสตร์หมายถึงคนเหล่านี้ที่เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู (คำว่า บันตู (Bantu) หมายถึง "ผู้คน")  กลุ่มคนที่พูดภษาบันตู เดิมทีอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา ตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ในบริเวณที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไนจีเรียในปัจจุบัน

การเชื่อมโยงกับปัจจุบัน
ภาษาบันตู : ภาษาสวาฮีลี (Swahili)
ประชากรประมาณ 240 ล้านคนในแอฟริกาจะพูดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาบันตูหลายภาษา เป็นภาษาแรกของพวกเขา ในบรรดาจำนวนนั้น ประชากรประมาณ 50 ล้านคนในแอฟริกากลางและตะวันออก จะพูดภาษาสวาฮีลี (Swahili)  (หรือเรียกว่า Kiswahili) คำว่า สวาฮีลีหมายถึง "ชายฝั่ง" ภาษาสวาฮีลีถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายบนชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา แต่พบที่อื่นก็มี เป็นภาษาราชการของเคนยาและแทนซาเนีย
ในความเป็นจริง ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาที่พูดกันมากที่สุดในทวีปแอฟริกาต่อจากภาษาอาหรับ ภาษาสวาฮีลีใช้พื้นฐานภาษาบันตูร่วมกับคำภาษาอาหรับและเปอร์เซีย อาจจะมีการวิวัฒนาการเนื่องจากชาวแอฟริกาตะวันออกติดต่อสัมพันธ์กับพ่อค้าจากเครือข่ายการค้าขายในมหาสมุทรอินเดียและติดต่อสัมพันธ์กับพ่อค้าชาวอาหรับ


คำทักทายว่า "Jambo. U mzima?”  แปลว่า "สวัสดี. คุณสบายดีหรือ?” และคำตอบว่า "U Hali Gani " แปลว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่ดี ประชาชนที่พูดภาษาสวาฮีลีจากแอฟริกาตะวันออกในปัจจุบัน ก็สามารถเข้าใจได้
Mask of the Kuba
หน้ากากของเผ่าคูบา (Kuba) ที่พูดภาษาบันตู
จากประเทศคองโกและซาอีร์



Mask of the Kuba
หน้ากากเผ่าคูบาเป็นตัวแทนพี่น้องบรรพบุรุษที่หล่อหลอมเป็นกลุ่มวัฒนธรรมเผ่าคูบา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู