|
|
การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประมาณ ค.ศ. 1800 (พ.ศ. 2343) สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญหลายอย่าง
ทำให้อุตสาหกรรมผ้าฝ้ายทันสมัยขึ้น สิ่งประดิษฐ์อันหนึ่งก็นำไปสู่การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์อีกอันหนึ่ง
ใน ค.ศ. 1733 (พ.ศ. 2276) ช่างซ่อมเครื่องจักร ชื่อ จอห์น เคย์
(John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยเครื่องเย็บผ้าที่วิ่งไปมาด้วยล้อ
กระสวยเครื่องเย็บผ้าที่พุ่งได้อย่างรวดเร็วนี้ทำขึ้นจากไม้รูปร่างคล้ายเรือ
(ดูภาพด้านล่าง) สำหรับพันเส้นด้าย เครื่องทอผ้าสามารถทอผ้าได้เป็นสองเท่าต่อวัน เนื่องจากเครื่องปั่นฝ้ายไม่สามารถเก็บรักษาไว้ในสภาพดีกับเครื่องทอผ้าอันรวดเร็วเหล่านี้ได้
รางวัลเงินสด จึงดึงดูใจผู้เข้าแข่งขันในการผลิตเครื่องปั่นฝ้ายให้ดีขึ้น ประมาณ
ค.ศ. 1764
(พ.ศ. 2307) ข่างทอผ้า ชื่อ เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James
Hargreaves) ได้คิดค้นล้อหมุน และตั้งชื่อตามชื่อบุตรสาวของตนเอง คือ
สปินนิ่งเจนนี (spinning jenny) ซึ่งทำให้เครื่องปั่นฝ่ายเครื่องเดียวปั่นฝ้ายในเวลาเดียวได้ถึง
8 หลอด
ตอนแรก ช่างทอผ้าทำงานกับกระสวยเครื่องเย็บผ้าที่พุ่งได้อย่างรวดเร็วและสเปนนิ่งเจนนีด้วยมือ
จากนั้น ริชาร์ด อาร์คไรต์ (Richard Arkwright) คิดค้นเครื่องจักรพลังน้ำ
(water frame) ขึ้นในปี ค.ศ. 1769 (พ.ศ.
2312) เครื่องจักรนี้ ใช้พลังน้ำจากลำธารที่ไหลเร็วปั่นล้อเครื่องปั่นฝ้าย
ใน ค.ศ. 1779 (พ.ศ. 2322) แซมมูเอล ครอมป์ตัน (Samuel Crompton) ประสานคุณสมบัติของสปินนิ่งเจนนีและวอเตอร์เฟรมเข้าด้วยกันผลิตเครื่องปั่นด้าย
ชื่อ สปินนิ่งมูล (spinning mule) สปินนิ่งมูลผลิตด้ายได้ทนทานกว่า
ประณีตกว่า และมีความคงเส้นคงวากว่าเครื่องปั่นด้ายรุ่นก่อน ๆ เครื่องทอผ้าของเอ็ดมันด์ คาร์ตไรท์ (Edmund Cartwright) ทำงานด้วยพลังน้ำ ชื่อ เพาเวอร์ลูม (power loom)
ทอผ้าได้เร็วขึ้น หลังจากประดิษฐ์ในปี ค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330)
เครื่องจักรวอเตอร์เฟรม
สปินนิ่งมูล และเพาเวอร์ลูมมีขนาดใหญ่โตเทอะทะและมีราคาแพง ใช้ปั่นด้ายและทอผ้าอยู่นอกบ้าน
พ่อค้าสิ่งทอที่ร่ำรวยจึงจัดสร้างเครื่องจักรต่าง ๆ ไว้ในอาคารขนาดใหญ่ เรียกว่า
โรงงาน โรงงานจำเป็นต้องใช้พลังน้ำ
ดังนั้น โรงงานแห่งแรกจึงถูกสร้างขึ้นใกล้แม่น้ำและลำธาร
ต้นฝ้ายของอังกฤษนำมาจากพื้นที่เพาะปลูกในอเมริกาใต้ในยุค
1790 การแกะเมล็ดออกจากต้นฝ้ายดิบด้วยมือเป็นงานที่ยุ่งยาก ใน ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ชื่อ เอลี วิตนีย์ (Eli Whitney) ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อทำงานบ้านให้รวดเร็วขึ้น
เครื่องปั่นฝ้ายของเขา ปั่นฝ้ายได้เป็นทวีคูณ
นำมาทำความสะอาดได้ด้วย การผลิตผ้าฝ้ายของชาวอเมริกัน จึงพุ่งสูงขึ้นจาก
1,500,000 ปอนด์ ใน
ค.ศ. 1790 (พ.ศ.
2333) จนถึง 85,000,000 ปอนด์ ใน
ค.ศ. 1810 (พ.ศ. 2353)
การปรับปรุงการขนส่ง
ความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงอุตสาหกรรมด้านอื่น
ๆ อันดับแรก มีการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่เกิดจากการค้นหาแหล่งพลังงานราคาถูก
มีความสะดวกสบาย ในช่วงระยะเริ่มแรก ใน ค.ศ. 1705 (พ.ศ. 2248) เหมืองถ่านหินกำลังใช้เครื่องปั๊มพลังไอน้ำในการปั๊มน้ำขึ้นมาจากปล่องเหมืองลึก
แต่เครื่องจักรไอน้ำรุ่นแรกนี้ กินน้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณมาก ทำให้ราคาแพงเกินไปที่จะมาใช้งาน
|
เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์ เจมส์
วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์
ได้ขบคิดปัญหานั้นเป็นเวลาถึง 2 ปี ใน ค.ศ.
1765 (พ.ศ. 2308) วัตต์ได้คิดหาวิธีที่จะทำให้เครื่องจักรไอน้ำทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลง ใน ค.ศ. 1774 (พ.ศ. 2317)
วัตต์ก็ร่วมมือกับนักธุรกิจ ชื่อ มัทธิว โบลตัน (Matthew Boulton) โบลตันเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจ และใช้เวลากับความเสี่ยงของธุรกิจ
เขาจึงจ่ายเงินเดือนให้กับวัตต์ และเป็นกำลังใจให้เขาสร้างเครื่องจักรให้ดีขึ้น
การขนส่งทางน้ำ นอกจากนี้ไอน้ำยังสามารถขับเคลื่อนเรือได้ด้วย
นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ชื่อโรเบิร์ต ฟุลตัน
(Robert Fulton) ได้สั่งซื้อเครื่องจักรไอน้ำจากโบลตันและวัตต์
เขาได้สร้างเรือกลไฟที่เรียกว่า เคลอร์มองต์ (Clermont) ซึ่งทำให้การเดินทางทางเรือกลไฟประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกใน
ค.ศ. 1807 (พ.ศ. 2350) ต่อมา
เรือเคลอร์มองต์ก็บรรทุกผู้โดยสารข้ามฟากทั้งขาขึ้นและขาล่องแม่น้ำฮัดสันในนครนิวยอร์ก
ในประเทศอังกฤษ ได้มีพัฒนาการขนส่งทางน้ำด้วยการขุดคลองหรือการคมนาคมทางน้ำที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ให้โยงถึงกัน
ประมาณช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 การคมนาคมภายในประเทศถึง 4,250 ไมล์ (ประมาณ 7,140
กิโลเมตร) จึงลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
การขนส่งทางบก ถนนหลายสายในอังกฤษที่ก็ได้รับการพัฒนาด้วย
ต้องขอบคุณความพยายามของจอห์น แม็กอาดัม (John
McAdam) วิศวกรชาวสก็อตเป็นอย่างมาก ด้วยการทำงานในช่วงต้นคริสต์ศตวรรณที่ 18 แมกอาดัมพัฒนาถนนอันราบเรียบมีชั้นหินขนาดใหญ่สำหรับระบายน้ำ
ด้านบนถนน วางหินบดเรียบอย่างพิถีพิถัน แม้ในสภาพอากาศที่มีฝนตก
รถบรรทุกหนักก็วิ่งไปบนถนน “แมกอาดัม” ใหม่ได้โดยไม่จมลงไปในโคลน
การลงทุนภาคเอกชนก่อรูปร่างขึ้นเป็น
บริษัท สร้างถนนและพร้อมทั้งได้ผลกำไร ผู้คนเรียกว่าถนนใหม่ว่า “Turnpike” (ถนนสำหรับรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง
= Tollway) เนื่องจากนักท่องเที่ยวต้องหยุดที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อจ่ายค่าผ่านทางก่อนที่จะเดินทางไกล
|
|
|
เริ่มต้นยุครถไฟ
เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำเพิ่มศักยภาพให้กับโรงงานของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เครื่องจักรไอน้ำมีล้อ
มีหัวรถจักร ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของอังกฤษหลังจากปี ค.ศ. 1820 (พ.ศ. 2363)
หัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำ ใน ค.ศ. 1804 (พ.ศ. 2347) วิศวกรชาวอังกฤษชื่อ ริชาร์ด ทรีวิธิค (Richard Trevithick)
ได้รับชัยชนะเดิมพันหลายพันดอลลาร์
ด้วยหัวรถจักรพลังไอน้ำบรรทุกเหล็ก 10 ตัน ลากไปไกลเกือบ 10 ไมล์ (ประมาณ 16
กิโลเมตร) บนรางรถไฟ ในไม่ช้า วิศวกรชาวอังกฤษคนอื่น
ๆ ก็พัฒนาหัวรถจักรของทรีวิธิค
ในบรรดาวิศวกรเหล่านี้
วิศวกรรถไฟยุคแรก คือ จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) มีชื่อเสียงที่มั่นคงยาวนาน
จากการสร้างเครื่องจักรให้กับผู้ประกอบการเหมือง จำนวน 20
เครื่อง ในภาคเหนือของอังกฤษ ใน ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) สตีเฟนสันเริ่มสร้างรถไฟขบวนแรกของโลก
วิ่งได้ 27 ไมล์ (ประมาณ 43 กิโลเมตร) จากแหล่งถ่านหินที่มณฑลยอร์กเชอร์ไปยังท่าเรือสต๊อกตันในทะเลเหนือ
ใน ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) ทางรถไฟก็เปิดใช้ ใช้หัวรถจักรที่สตีเฟนสันออกแบบและสร้างขึ้น
จำนวน 4 หัว
รถไฟสายลิเวอร์ – แมนเชสเตอร์ ข่าวของความสำเร็จนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วสหราชอาณาจักรอย่างรวดเร็ว
ผู้ประกอบการในภาคเหนือของประเทศอังกฤษ ต้องการขบวนรถไฟให้เชื่อมต่อท่าเมืองลิเวอร์พูลกับเมืองแมนเชสเตอร์ภายในประเทศ
จึงได้สร้างรางรถไฟ ใน ค.ศ. 1829 (พ.ศ. 2372) ก็จัดการทดลองเลือกหัวรถจักรที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในเส้นทางสายใหม่
มีรถจักรเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 5 เครื่อง
เครื่องยนต์เข้าแข่งขัน ไม่มีหัวรถจักรหัวใดที่สามารถจะเทียบกับ Rocket
(หัวจรวด) ที่ออกแบบโดยสตีเฟนสันกับบุตรชาย
|
ควันจากปล่องควันของ
Rocket พวยพุ่งขึ้นสูง
ลูกสูบ จำนวน 2 ลูก สลับกันขึ้นลงพร้อมทั้งลากล้อเคลื่อนไปข้างหน้า หัวรถจักรลากน้ำหนัก 13 ตัน ด้วยความเร็วมากกว่า
24 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อย่างไม่เคยได้ยินมาก่อน รถไฟสายลิเวอร์พูล – แมนเชสเตอร์เปิดอย่างเป็นทางการ
ในปี ค.ศ. 1830 (พ.ศ. 2373) เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด
สิ่งประดิษฐ์และความสมบูรณ์แบบของหัวรถจักรมีผลกระทบที่สำคัญอย่างน้อยที่สุด
4 ประการ คือ ประการแรก รถไฟได้กระตุ้นการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรม
เนื่องจากผู้ผลิตได้รับวิธีการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปถูกลง ประการที่สอง ความเจริญทางรถไฟสร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นนับร้อยนับพัน
ให้กับพนักงานรถไฟและคนงานเหมือง คนงานเหมืองเหล่านี้จัดหาเหล็กมาทำรางรถไฟและถ่านหินให้กับเครื่องจักรไอน้ำ
ประการที่สาม ทางรถไฟส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมการประมงของอังกฤษ ซึ่งสามารถขนส่งสินค้าไปยังเมืองที่ห่างไกล
สุดท้ายด้วยการทำให้การเดินทางง่ายขึ้น
รถไฟได้ส่งเสริมให้ผู้คนในประเทศไปทำงานยังเมืองที่ห่างไกล นอกจากนี้ทางรถไฟยังดึงดูดให้ชาวเมืองเดินทางไปตากอากาศในชนบท
การปฏิวัติอุตสาหกรรม คล้ายกับการแข่งหัวรถจักรทั่วประเทศ ได้นำการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่เหมือนเดิมมาสู่การดำเนินชีวิตของผู้คน
|
|
|
||
|