แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

การพยายามควบคุมธรรมชาติของมนุษย์

การพยายามควบคุมธรรมชาติของมนุษย์
ประมาณ 40,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มจะดูทันสมัยอย่างเต็มที่ในลักษณะทางกายภาพ ด้วยการโกนหนวด ตัดผมและใส่เสื้อผ้า มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon man) ดูเหมือนนักบริหารทางธุรกิจที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านไปหลายพันปี วิถีชีวิตของมนุษย์ยุคแรก ก็ประสบกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างไม่น่าเชื่อ ผู้คนมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทักษะทางด้านศิลปะ และที่สำคัญที่สุด คือ การเกษตร

ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีและศิลปะในยุคแรก
มนุษย์ที่มีการพัฒนายุคแรก ได้วิวัฒนาการตัวเองให้แตกต่างจากบรรพบุรุษอย่างรวดเร็ว บรรพบุรุษจะใช้เวลาส่วนใหญ่เพียงเพื่อมีชีวิตให้อยู่รอด เนื่องจากเป็นนักประดิษฐ์และเป็นนักศิลปะ มนุษย์มีความก้าวหน้ามากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เจริญรุดหน้า

เครื่องมือที่มีความจำเป็นเพื่อความอยู่รอด
เป็นเวลาหลายหมื่นปี มนุษย์ชายหญิงในยุคหินเก่า เป็นชนเผ่าร่อนเร่ ที่เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อแสวงหาแหล่งอาหารใหม่  กลุ่มคนเร่ร่อนที่มีชีวิตอยู่กับการล่าสัตว์และสะสมพืชพันธุ์ธัญญาหารนี้ เรียกว่า hunter-gatherers (เผ่าเร่ร่อนล่าสัตว์และหาอาหาร) ผู้เร่ร่อนล่าสัตว์และหาอาหารยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น กลุ่มมนุษย์เร่ร่อนโครมันยอง จะเพิ่มแหล่งอาหารของตนเองโดยการประดิษฐ์เครื่องมือ ยกตัวอย่าง นักล่าจะประดิษฐ์หอกชนิดพิเศษขึ้นเพื่อช่วยกีฬาล่าสัตว์จากระยะทางที่ไกลมาก (คือพุ่งหอกได้เป็นระยะทางไกล ๆ)  การขุดรากไม้ช่วยให้ผู้สะสมอาหารงัดรากไม้ได้ง่ายขึ้น
มนุษย์ที่มีการพัฒนายุคแรกเริ่มการปฏิวัติทางเทคโนโลยี พวกเขาใช้หิน กระดูกและไม้ มาปรับปรุงเครื่องมือต่าง ๆ ให้ทันสมัยมากกว่า 100 ชนิด เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาเหล่านี้ รวมทั้งมีดสำหรับกีฬาฆ่าสัตว์และแล่เนื้อ ตลอดจนเบ็ดตกปลาและฉมวกสำหรับจับปลา เครื่องมือตัดไม้ คล้ายกับสิ่วได้รับการออกแบบมาเพื่อประดิษฐ์เครื่องมืออื่น ๆ มนุษย์โครมันยอง ใช้ซี่กระดูกเย็บเสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์

การแสดงออกทางด้านศิลปะในยุคหินเก่า (Paleolithic Age)  เครื่องมือของมนุษย์ที่มีการพัฒนายุคแรกทำให้ทราบถึงวิธีการที่พวกเขาพบกับความต้องการอยู่รอด แต่โลกของพวกเขาเจริญขึ้นถึงที่สุดในการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ สร้อยคอเปลือกหอย ฟันสิงโตและกรงเล็บหมี เป็นเครื่องประดับทั้งชายและหญิง ผู้คนบดงาช้างแมมมอธให้เป็นลูกปัดกลมขัดเงา และยังแกะสลักรูปปั้นเหมือนจริงขนาดเล็ก ๆ ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโลก

เริ่มเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม
เป็นเวลาพัน ๆ ปี มนุษย์มีชีวิตอยู่รอดด้วยการล่าสัตว์และรวบรวมพืชที่กินได้ พวกเขาอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 25-70 คน ผู้ชายส่วนมากล่าสัตว์ ผู้หญิงเก็บรวบรวมผลไม้ ผลเบอร์รี่ รากไม้และหญ้า จากนั้นประมาณ 10,000 ปีผ่านไป ผู้หญิงบางส่วนอาจจะหว่านเมล็ดพันธุ์ไม้ใกล้ ๆ สถานที่พักพิง เมื่อพวกเขากลับมาในฤดูกาลถัดไป ก็อาจจะพบพืชใหม่ ๆ ที่งอกขึ้นมา  การค้นพบนี้เป็นการแผ้วทางในการปฏิวัติยุคหินใหม่ หรือการปฏิวัติเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของมนุษย์ที่ก้าวไกล อันเป็นผลมาจากการเริ่มทำเกษตรกรรม   การเปลี่ยนแปลงจากการรวบรวมอาหารมาเป็นวัฒนธรรมการผลิตอาหารเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์


ต้นเหตุแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม  นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบจริง ๆ ว่าทำไมการปฏิวัติเกษตรกรรมจึงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ การเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศอาจจะเป็นสาเหตุผลสำคัญ  อุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลกทำให้ฤดูกาลเพาะปลูกยาวนานขึ้นและทำให้ที่ดินแห้งเหมาะกับการเพาะปลูกหญ้าป่า พืชพันธุ์ธัญญาหารอันอุดมสมบูรณ์ช่วยสนับสนุนประชากรขนาดเล็กให้เจริญรุ่งเรือง ในขณะที่ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ชุมชนเร่ร่อนล่าสัตว์และหาอาหารรู้สึกมีความกดดันในการหาแหล่งอาหารใหม่ การทำเกษตรกรรมเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งแตกต่างจากการล่าสัตว์ เพราะการทำเกษตรกรรมเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคง

วิธีทำเกษตรกรรมในยุคแรก  บางกลุ่มทำการเกษตรแบบตัดและเผา ซึ่งพวกเขาจะตัดต้นไม้หรือหญ้าและเผาเสียเพื่อแผ้วถางที่ดินทำกิน เถ้าถ่านที่ทิ้งไว้ก็ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรก็ปลูกพืชเป็นเวลาหนึ่งปีหรือสองปีแล้วย้ายไปพื้นที่ทำมาหากินแห่งใหม่อีก หลายปีต่อมา ต้นไม้และหญ้าเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และเกษตรกรคนอื่น ๆ ก็ทำเกษตรกรรมแบบตัดและเผาตาม ๆ กัน

การเลี้ยงสัตว์  ความเข้าใจของผู้รวบรวมอาหารเกี่ยวพืชพันธุ์อาจกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรรม ในขณะเดียวกัน ความรู้ความเชี่ยวชาญของนักล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าน่าจะมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงสัตว์ พวกเขาเลี้ยงม้า สุนัข แพะและสุกรให้เชื่อง  การเลี้ยงสัตว์ ก็คล้ายกับการทำเกษตรกรรม คือ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ นักล่าในยุคหินอาจมีการไล่ต้อนฝูงสัตว์ลงไปในหุบเหวลึกที่ล้วนด้วยหินเพื่อฆ่า ต่อมา มันก็เป็นขั้นตอนเล็ก ๆ ที่จะไล่ต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงเข้าไปในคอกที่มนุษย์สร้างขึ้น จากนั้นเกษตรกรสามารถเลี้ยงสัตว์ให้เป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงและค่อย ๆ เลี้ยงสัตว์ให้เชื่อง
         ไม่ใช่แต่เกษตรกรเท่านั้นที่เลี้ยงสัตว์ให้เชื่องได้ ชนเผ่าร่อนเร่เลี้ยงสัตว์แห่งทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ก็เลี้ยงแกะ แพะ อูฐหรือสัตว์อื่น ๆ คนเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ก็ย้ายสัตว์ของตนเองไปยังทุ่งหญ้าแห่งใหม่และแหล่งน้ำ

หินบด
หินบดและภาชนะรองรับสมัยหินใหม่ใช้บดเมล็ดข้าว




แผนที่การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชในยุคแรก
เกษตรกรรมในเมืองจาร์โม (Jarmo)  ปัจจุบันนี้ บริเวณเนินที่ดินเชิงเขาเป็นรูปทรงกลมเนื่องถูกน้ำกัดเซาะและแห้งแล้งแห่งเมื่อซากรอส (Zagros) ภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิรักดูเหมือนจะเป็นแหล่งกำเนิดเกษตรกรรม ตามที่นักโบราณคดี ชื่อ โรเบิร์ต เบรดวูด (Robert Braidwood) บันทึกไว้ หลายพันปีที่ผ่านไป สภาพแวดล้อมของภูมิภาคนี้สนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรม ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ป่า พร้อมด้วยแพะป่า หมู แกะและม้า เคยเจริญเติบโตใกล้เทือกเขาซากรอส
            ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950  โรเบิร์ต  เบรดวูด ได้นำนักโบราณคดีไปขุดแหล่งโบราณคดีชื่อ จาร์โม  เขาได้สรุปว่า การตั้งรกรากสังคมเกษตรกรรมเริ่มต้น ณ ที่นี้ ประมาณ 9,000 ปี ที่ผ่านมา
เกษตรกรที่จาร์โม และเกษตรกรอื่น ๆ ที่อยู่ในสถานที่ไกลออกไป เช่น ประเทศเม็กซิโกและประเทศไทยเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการดำเนินชีวิตแบบใหม่ หมู่บ้านเช่น จาร์โม เป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุคใหม่และวางรากฐานให้วิถีชีวิตสมัยใหม่

หมู่บ้านเจริญเติบโตและเจริญรุ่งเรือง
การเปลี่ยนแปลงจากการล่าสัตว์และการรวบรวมอาหารมาเป็นการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นไม่ใช่ครั้งเดียวแต่เกิดขึ้นหลายครั้ง ผู้คนยุคหินใหม่ในหลายส่วนของโลกได้พัฒนาเกษตรกรรมอย่างเป็นอิสระ

การพัฒนาเกษตรกรรมในหลาย ๆ สถานที่
ภายในเวลาไม่กี่พันปี ผู้คนในภูมิภาคอื่น ๆ หลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็หันไปทำการเกษตร
ทวีปแอฟริกา  ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมที่สำคัญ ในการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และพืชพันธุ์ธัญญาหารชนิดอื่น ๆ
ประเทศจีน  ประมาณ 8,000 ปีที่ผ่านมา  เกษตรกรตามแนวยาวเหยียดตรงกลางของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) ก็เพาะปลูกข้าวที่เรียกว่า ข้าวฟ่าง (millet)  เมื่อประมาณ 1,000 ปีต่อมา เกษตรกรมีการปลูกข้าวป่าเป็นครั้งแรกในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฉางเจียง (Chang Jiang – แม่น้ำแยงซี หรือ แยงซีเกียง)
•  เม็กซิโกและอเมริกากลาง  เกษตรกรปลูกข้าวโพด ถั่ว และ สควอช (squash – พืชตระกูลน้ำเต้า)
เปรู  เกษตรกรในเทือกเขาแอนดีสตอนกลางเป็นพวกแรกที่ปลูกมะเขือเทศ มันฝรั่งหวาน และมันฝรั่งสีขาว
จากศูนย์กลางเกษตรกรรมในยุคแรกและยุคต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ การทำเกษตรกรรม ได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคโดยรอบ



ซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk)  ในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501)  นักโบราณคดีได้ค้นพบหมู่บ้านเกษตรกรรมในที่รู้จักกันในปัจจุบัน ซาวทาล  ฮือยึค (Catal Huyuk) หรือ "เนินดินอันคดเคี้ยว" ตั้งอยู่บนที่ราบอุดมสมบูรณ์ในตุรกี ตอนกลางเยื้องไปทางใต้ (ประมาณ 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) จากเมืองคอนยาในปัจจุบัน) ใกล้ภูเขาไฟรูปทรงกรวยคู่ เมืองซาทาล ฮือยึคครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32 เอเคอร์ (ประมาณ 82 ไร่) ณ จุดสูงสุดของเมืองเมื่อ 8,000 ปีที่ผ่านมา มีหมู่บ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน 5,000 ถึง 6,000 คน มีที่พักอาศัย 1,000 แห่ง บ้านเหล่านี้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากอิฐและเรียงรายกันเหมือนรังผึ้ง
ซาทาล ฮือยึคแสดงให้เห็นถึงผลดีของการใช้ชีวิตของผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งแล้ว ที่ดิอันอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำดี ได้ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และถั่ว ชาวบ้านยังเลี้ยงแกะและวัวควาย ผลผลิตทางเกษตรกรรมอันล้นเหลือของซาทาล ฮือยึค ได้สนับสนุนแรงงานที่มีทักษะสูงจำนวนมาก เช่น ช่างปั้นดินเผาและช่างทอผ้า แต่หมู่บ้านเป็นที่รู้จักดีในเวลานั้นว่าผลิตภัณฑ์หินออบซิเดียน (หินอัคนีชนิดหนึ่งมีเนื้อละเอียดมาก มีสีดำ เป็นมันวาว เกิดจากลาวาเย็นตัวอย่างรวดเร็ว)  หินภูเขาไฟสีดำนี้มีลักษณะเหมือนแก้วมีเป็นจำนวนมาก จึงถูกใช้ในการทำกระจก เครื่องประดับและมีดเพื่อการค้าขาย
ความเจริญรุ่งเรืองของซาทาล ฮือยุค ยังให้การสนับสนุนวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย  นักโบราณคดีได้ค้นพบภาพวาดฝาผนังที่มีสีสันเกี่ยวกับสัตว์และฉากการล่าสัตว์ มีวิหารทางศาสนามากมายที่คนถวายอุทิศให้กับพระแม่ธรณี ตามความเชื่อของผู้คนที่บวงสรวง เชื่อว่า พระแม่ธรณีจะดูแลผลผลิตทางพืชพันธุ์ธัญญาหาร
วิถีชีวิตผู้ตั้งหลักแหล่งใหม่ มีข้อเสีย คือ มีเหตุการณ์บางอย่างที่คล้ายกับที่เกิดขึ้นกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชนเร่ร่อนล่าสัตว์และหาอาหาร ได้แก่ น้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยแล้ง และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่สามารถทำลายหมู่บ้านได้ โรคเช่น มาลาเรียแพร่กระจายได้ง่ายในหมู่ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน เพื่อนบ้านที่อิจฉาริษยาและกลุ่มคนที่เร่ร่อนมา อาจโจมตีและปล้นหมู่บ้านคนรวย เช่น ซาทาล ฮือยึค







มนุษย์น้ำแข็งยุคหินใหม่ (the neolithic Ice Man)
         ในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) นักเดินทางไกลด้วยเท้าชาวเยอรมัน 2 คน ได้ค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งทำให้นักโบราณคดีพบเทคโนโลยีของผู้สร้างเครื่องมือในยุคแรกโดยตรง ใกล้กับชายแดนออสเตรียและอิตาลีที่ นักโบราณคดีได้พบเห็นร่างกายของนักเดินทางยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งทำเป็นมัมมี่ เก็บรักษาไว้ในน้ำแข็งเป็นเวลาประมาณ 5,000 ปี (ดูภาพขวามือ)
        มนุษย์ยุคแรกนี้ มีฉายาว่า "มนุษย์น้ำแข็ง – Ice Man" ไม่ใช่มนุษย์มีมือเปล่า พบชุดเครื่องมือใกล้ ๆ ร่างของเขา มีคันธนูขนาดใหญ่ยาวหกฟุต 1 อัน และซองหนังกวาง มีลูกศร 14 ลูก นอกจากนี้ ซองนั้นยังมีแท่งปลายเขากวางสำหรับลับใบหินเหล็กไฟซึ่งเป็นมีดสั้นสองคมทำด้วยหินเหล็กไฟขนาดเล็กในฝักทอ ขวานทองแดงและถุงยาอีกด้วย

         การวิจัยร่างกายในทางวิทยาศาสตร์  (ภาพด้านซ้ายมือ) สรุปได้ว่ามนุษย์น้ำแข็งอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่เขาเสียชีวิตในปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อนจากแผลที่ถูกยิงด้วยลูกศร นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า ในชั่วโมงก่อนที่เขาตายเขาได้กินแพะป่า กวางแดง และธัญพืช มนุษย์น้ำแข็ง เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พิเศษในเมืองโบลซาโน (Bolzano) ประเทศอิตาลี