แปลจาก...World History ของ Mcdougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17  ประเทศฝรั่งเศส ถือว่าเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดในทวีปยุโรป  มีประชากรจำนวนมากและมีการค้าขายที่รุ่งเรือง  เป็นศูนย์กลางของยุคเรืองปัญญา วัฒนธรรมฝรั่งเศสได้รับการยกย่องสรรเสริญและลอกเลียนแบบไปทั่วโลก  อย่างไรก็ตาม การปรากฏความสำเร็จก็เป็นการหลอกลวง  มีสถานการณ์ที่ไม่สงบเป็นอันมากในฝรั่งเศส เนื่องจากผลิตผลมีคุณภาพต่ำ ราคาสูง ภาษีสูง และมีคำถามจากแนวคิดเรืองปัญญาของ จอห์น  ล็อก (John Locke – อังกฤษ)  ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau - ฝรั่งเศส) และ วอลแตร์ (Voltaire – ฝรั่งเศส) เข้ามารบกวน


ระบอบเก่า (The Old Order)
ในคริสต์ทศวรรษ 1770  ระบบสังคมและการเมืองของฝรั่งเศส ยังเป็นระบบเก่า (the Old Regime) ภายใต้ระบบนี้ ประชาชนของฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น ชนชั้นทางสังคมหรือฐานันดรขนาดใหญ่ 3 ชนชั้น

ชนชั้นอภิสิทธิ์  ชนชั้น 2 จำพวก ที่ได้รับสิทธิพิเศษ รวมทั้งการเข้าหาข้าราชการชั้นสูงและการได้รับข้อยกเว้นการเสียภาษีอากร ซึ่งชนชั้นที่ 3 ไม่มีสิทธิ์จะได้รับ  พระในคริสตจักรโรมันคาทอลิก จัดเป็นชนชั้นที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน 10 เปอร์เซ็นต์  มีหน้าที่ให้การศึกษาและการบริการทางศรัทธาแก่คนยากจน และจ่ายผลกำไรประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ให้กับรัฐบาล  ชนชั้นที่ 2 คือขุนนางและคนชั้นสูง  แม้ชนชั้น 2 จำพวกนี้ จะมีแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร  ขุนนางก็เป็นเจ้าของที่ดิน 20 เปอร์เซ็นต์และเกือบไม่ต้องเสียภาษีอากร พระและขุนนางส่วนใหญ่จะดูถูกเหยียดหยามแนวความคิดเรืองปัญญาว่าเป็นแนวคิดหัวรุนแรงที่มาคุกคามสถานภาพและอำนาจของตนเอง

ชนชนที่ 3  ประมาณร้อยละ 97 ของประชาชน อยู่ในชนชั้นหรือฐานันดรที่ 3  ชนชั้น 3 จำพวกนี้ มีความแตกต่างกันมากในทางเศรษฐกิจ  กลุ่มที่ 1 คือ ชนชั้นกลาง ได้แก่ นายธนาคาร เจ้าของโรงงาน พ่อค้า นักธุรกิจ และ ช่างฝีมือผู้มีทักษะ  โดยปกติแล้ว ชนชั้นนี้ จะได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีและมีความเชื่อมั่นในแนวความคิดเรืองปัญญาซึ่งมีความเป็นอิสรภาพและความเสมอภาค
แม้ว่าชนชั้นกลางบางพวกจะร่ำรวยพอ ๆ กับขุนนาง  พวกเขาก็จ่ายภาษีอากรสูง เช่นเดียวกับชนชั้นที่ 3 ที่เหลือ ขาดความมีอภิสิทธิ์  หลายคนรู้สึกว่าความมั่งคั่งของพวกเขาให้ฐานะความสูงส่งทางสังคมและอำนาจทางการเมืองแก่ตนเอง
แรงงานในเมืองใหญ่ของฝรั่งเศส จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และจนที่สุด ในฐานันดรที่ 3 เหล่าแรงงานในเมือง ประกอบด้วยพ่อค้า ผู้ฝึกหัดงาน ผู้ใช้แรงงาน และคนรับใช้ภายในบ้าน พวกเราได้รับค่าจ้างขั้นต่ำและถูกไล่ออกจากงานเป็นประจำ จนเกิดความโหยหิวบ่อย ๆ หากค่าขนมปังเพิ่มขึ้น ม็อบแรงงานเหล่านี้อาจจะบุกรุกเกวียนข้าวและร้านขายขนมปังเพื่อขโมยสิ่งที่พวกเขาต้องการ
ชาวนาเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในฐานันดรที่ 3 มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรฝรั่งเศส 26 ล้านคน ชาวนาจะจ่ายผลกำไรของตนเองประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นค่าธรรมเนียมให้กับขุนนาง อีก 1 ใน 10 ให้กับคริสตจักร และเสียภาษีให้กับตัวแทนของกษัตริย์ พวกเขายังจ่ายภาษีแม้กระทั่งอาหารขั้นพื้นฐาน เช่น เกลือ  ชาวนาและคนยากจนในเมืองไม่พอใจพระสงฆ์และขุนนางที่ได้รับสิทธิพิเศษและการปฏิบัติเป็นพิเศษ  ชนชั้นที่ 3 ถูกเก็บภาษีอย่างหนักและไม่พอใจฐานันดรที่ 3 จึงอยากให้มีการเปลี่ยนแปลง


กองกำลังการเปลี่ยนแปลง
นอกจากความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นในหมู่คนชั้นต่ำแล้ว  ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดอารมณ์การปฏิวัติในฝรั่งเศส แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับรัฐบาล ปัญหารุนแรงทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นผู้นำที่อ่อนแอและไม่เด็ดขาด ทั้งหมดทำให้เกิดความต้องการในการเปลี่ยนแปลง

แนวความคิดเรืองปัญญา  มุมมองใหม่เกี่ยวกับอำนาจและการบริหารในรัฐบาลได้แพร่กระจายไปในหมู่ประชาชนฐานันดรที่ 3  สมาชิกของฐานันดรที่ 3 ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของการปฏิวัติอเมริกา พวกเขาเริ่มตั้งคำถามความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของสังคมที่ดำรงมายาวนาน  ด้วยการอ้างอิงแนวความคิดของรูโซและวอลแตร์ ประชาชนเริ่มเรียกร้องความเสมอภาค เสรีภาพและประชาธิปไตย

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  ในคริสต์ทศวรรษ 1780 เศรษฐกิจของฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองขึ้นครั้งหนึ่งก็เสื่อมถอยลง ข้อนี้เป็นการเตือนภัยโดยเฉพาะในกลุ่มพ่อค้า เจ้าของโรงงานและนายธนาคารในฐานันดรที่ 3 ดูผิวเผิน เศรษฐกิจดูเหมือนจะเข้มแข็ง เพราะทั้งการผลิตและการค้ากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ภาระหนักของภาษีทำให้มันเกือบเป็นไปได้จัดการกับธุรกิจให้เกิดผลกำไรภายในฝรั่งเศส  ยิ่งไปกว่านั้น ค่าครองชีพก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เลวร้ายในคริสต์ทศวรรษ 1780 ทำให้การเพาะปลูกล้มเหลวอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเมล็ดข้าวอย่างรุนแรง   ราคาขนมปังเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) และผู้คนจำนวนมากต้องเผชิญกับความอดอยาก
         ในคริสต์ทศวรรษ 1770 ถึง 1780 รัฐบาลฝรั่งเศสจมลึกอยู่ในภาวะเป็นหนี้ ส่วนหนึ่งของปัญหา คือการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต  (Louis XVI and queen  Marie Antoinette) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังได้รับการสืบทอดหนี้มากจากกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พระองค์ก่อหนี้อย่างหนักเพื่อจะช่วยการปฎิวัติอเมริกาในสงครามกับสหราชอาณาจักร   ซึ่งก็เป็นคู่แข่งชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส ข้อนี้เกือบทำให้หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี ค.ศ. 1786 (พ.ศ. 2329) เมื่อนายธนาคารปฏิเสธที่จะให้รัฐบาลยืมเงินจำนวนมาก พระเจ้าหลุยส์ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างร้ายแรง
 
ฐานันดร 3 ในฝรั่งเศส
A  นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
   B  ขุนนางผู้ร่ำรวย
   C  ชนชั้น ชาวนา พ่อค้า นักธุรกิจ ฯลฯ




ประชากรและการเสียภาษีในฝรั่งเศส

 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1754 - 1793)

 
พระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต
พระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต (ค.ศ. 1755 - 1793)

ผู้นำที่อ่อนแอ  ความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งอาจจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้และปัญหาอื่น ๆ ได้  อย่างไรก็ตาม พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงไม่เด็ดขาดและปล่อยให้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านไปอย่างเลื่อนลอย พระองค์ทรงสนพระทัยคำปรึกษาของรัฐบาลเพียงเล็กน้อย และทรงมีความอดทนน้อยในรายละเอียดของการปกครอง  พระราชินียังเพิ่มปัญหาให้กับพระเจ้าหลุยส์อีกด้วย บ่อยครั้งที่เธอแทรกแซงรัฐบาล และถวายคำแนะนำที่ไม่ดีแก่พระเจ้าหลุยส์เสมอ ๆ  ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากพระนางเป็นสมาชิกของพระราชวงศ์แห่งออสเตรีย  ซึ่งเป็นศัตรูของฝรั่งเศสมาเป็นเวลานาน พระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต จึงไม่เป็นที่รู้จัก นับตั้งแต่พระนางย่างพระบาทเข้าไปในฝรั่งเศส พฤติกรรมของพระนางจึงทำให้สถานการณ์เลวร้าย  ในฐานะเป็นราชินี พระนางทรงใช้จ่ายเงินเป็นอันมาก ในการซื้อฉลองพระองค์ยาว เครื่องทรงอัญมณี  เล่นการพนันและซื้อของขวัญ  พระนางจึงได้รับการขนานนามว่า "มาดามหนี้ท่วมหัว  - Madame Deficit"
พระเจ้าหลุยส์จะถอนนโยบายที่รีบด่วนออกมากกว่าจะตัดค่าใช้จ่าย จนกระทั่งในทางปฏิบัติจึงไม่มีเงินเหลือเลย วิธีการแก้ปัญหาของพระองค์คือการเรียกเก็บภาษีจากประชาชนในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ฐานันดรที่ 2 ก็ได้บังคับพระองค์ให้เรียกประชุมสภาฐานันดร ซึ่งเป็นสภาผู้แทนจากทั้ง 3 ชนชั้น เพื่ออนุมัติภาษีใหม่นี้ การประชุม ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1789 (พ.ศ. 2332) ที่พระราชวังแวร์ซาย

การเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติ
นักบวชและขุนนางมีอำนาจเหนือสภาฐานันดรมาตลอดยุคกลางและคาดว่าจะทำเช่นนั้นในการประชุม ค.ศ. 1789 ภายใต้กฎระเบียบในยุคกลางของสภา ตัวแทนของแต่ละฐานันดรได้ประชุมแยกห้องเพื่อออกเสียงลงคะแนน และแต่ละฐานันดรก็มีหนึ่งเสียง ชนชั้นหรือฐานันดรอภิสิทธิ์ทั้งสองสามารถจะชนะคะแนนฐานันดรที่ 3 ได้ตลอดเวลา

สมัชชาแห่งชาติ (The National Assembly)  ผู้แทนฐานันดรที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของชนชั้นกลาง มีมุมมองที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดเรืองปัญญา  กระตือรือร้นที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล พวกเขายืนยันว่า ฐานันดรทั้งสามทุกคนต้องประชุมร่วมกันและผู้แทนแต่ละคนมีการลงคะแนนเสียง 1 เสียง ข้อนี้จะทำให้ฐานันดรที่ 3 เกิดความได้เปรียบ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมากพอ ๆ กับฐานันดรชั้นสูงอีกสองฐานันดรรวมกัน
กษัตริย์ทรงเข้าข้างกับขุนนาง สั่งให้สภาฐานันดรปฏิบัติตามกฎระเบียบในยุคกลาง  อย่างไรก็ตาม  ตัวแทนฐานันดรที่ 3 มีความมุ่งมั่นมากขึ้นในการจัดการกับอำนาจ เอ็มมานูเอล โฌแซฟ ซีแยส์  (Emmanuel-Joseph Sieyès) โฆษกชั้นนำสำหรับมุมมองของพวกเขาเป็นนักบวชผู้มีความเห็นใจในเหตุผลที่ดีของพวกเขา ในการพูดที่เร้าอารมณ์ของซีแยส์ แนะนำว่า ผู้แทนจากฐานันดรที่ 3 ตั้งชื่อตัวเองว่า สมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) และผ่านกฎหมายตลอดจนปฏิรูปในนามของประชาชนชาวฝรั่งเศส
หลังจากการอภิปรายอย่างน่าตื่นเต้นตลอดคืนอันยาวนาน  ผู้แทนจากฐานันดรที่ 3 ยอมรับแนวความคิดของซีแยส์ ด้วยเสียงข้างมาก  เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1789 (พ.ศ. 2332) พวกเขาลงคะแนนเสียงก่อตั้งสมัชชาแห่งชาติ ในการประกาศผลการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และจุดเริ่มต้นของรัฐบาลทีมีตัวแทน การลงคะแนนครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่กระทำโดยเจตนาแห่งการปฏิวัติ


สามวันต่อมา ผู้แทนจากฐานันดรที่ 3 พบว่าตัวเองถูกขังไว้ในห้องประชุมของพวกเขา พวกเขาทำลายประตูลงไปยังสนามเทนนิสในร่ม ด้วยการให้คำมั่นสัญญาว่าจะอยู่จนกว่าพวกเขาจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คำมั่นสัญญานี้ เรียกว่า คำปฏิญาณสนามเทนนิส (Tennis Court Oath)   หลังจากนั้นไม่นาน ขุนนางและสมาชิกของนักบวชที่ให้การสนับสนุนการปฏิรูป ก็เข้าร่วมกับผู้แทนฐานันดรที่ 3  ในการโต้ตอบต่อเหตุการณ์เหล่านี้ พระเจ้าหลุยส์ตั้งกองกำลังอารักขาชาวสวิสซึ่งเป็นทหารรับจ้างรอบพระราชวังแวร์ซาย

การโจมตีคุกบัสตีย์  ในปารีส มีข่าวลือกระฉ่อนไปทั่ว บางคนบอกว่า พระเจ้าหลุยส์ตั้งใจใช้กองกำลังทหารเพื่อยกเลิกสมัชชาแห่งชาติ ประชาชนพวกอื่น ๆ ตั้งข้อหาว่ากองกำลังต่างชาติ กำลังจะมาสู่กรุงปารีสเพื่อสังหารหมู่ประชากรชาวฝรั่งเศส
ประชาชนเริ่มรวบรวมอาวุธเพื่อปกป้องเมืองจากการโจมตี ในวันที่ 14 กรกฏาคม ฝูงชนซึ่งกำลังค้นหาดินปืนและอาวุธ ก็บุกโจมตีคุกบัสตีย์ (Bastille) ซึ่งตั้งอยู่ในปารีส ฝูงชนบุกเข้าจับผู้ดูแลคุกและยึดอาคารคุกได้  ผู้โจมตีเกิดความโกรธ จึงแขวนคอผู้บัญชาการคุกและผู้ดูแลคุกหลายคนจนตาย และแล้วก็เอาศีรษะคนเหล่านั้นเสียบไว้บนหลาวแห่ไปรอบ ๆ ถนน
การล่มสลายของคุกบัสตีย์กลายเป็นสัญลักษณ์การปฏิบัติการครั้งยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติเพื่อประชาชนชาวฝรั่งเศส นับตั้งแต่นั้นมา วันที่ 14 เดือนกรกฎาคม วันบัสตีย์ (Bastille Day) ก็เป็นวันชาติของฝรั่งเศส คล้ายกับวันที่ 4 เดือนกรกฎาคม เป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา

ความกลัวครั้งยิ่งใหญ่กวาดล้างประเทศฝรั่งเศส
ไม่ช้าไม่นาน จลาจลก็แพร่กระจายจากปารีสไปสู่ชนบท จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ข่าวลืออันป่าเถื่อนกระจายไปทั่วว่า เหล่าขุนนางกำลังจ้างโจรเพื่อข่มขวัญชาวบ้าน คลื่นของความหวาดกลัวอันไร้สติ ซึ่งเรียกว่า ความกลัวครั้งยิ่งใหญ่ (the Great Fear) วนเวียนไปทั่วฝรั่งเศส  ในไม่ช้า ชาวบ้านก็กลายเป็นโจรเสียเอง ชาวนาพร้อมด้วยอาวุธมีคราดและเครื่องมือการเกษตรอื่น ๆ บุกเข้าไปในคฤหาสน์ขุนนางและทำลายเอกสารทางกฎหมายเก่าที่ผูกทัดพวกเขาให้จ่ายค่าธรรมเนียมศักดินา ในบางกรณี ชาวบ้านก็เผาคฤหาสน์อย่างง่ายดาย
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) ผู้หญิงชาวปารีสนับพันคน ได้ก่อจลาจลเรื่องการขึ้นราคาขนมปัง พวกหล่อนควงมีด ขวานและอาวุธอื่น ๆ ที่ผู้หญิงเดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซาย อันดับแรก พวกเธอเรียกร้องให้สมัชชาแห่งชาติะดำเนินการจัดหาขนมปังให้ แล้วพวกเธอก็พุ่งความโกรธไปหากษัตริย์และพระราชินี พวกเธอบุกเข้าไปในพระราชวังฆ่าทหารรักษาพระองค์บางส่วน ผู้หญิงเหล่านั้นได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์และพระราชินีมารี อ็องตัวแน็ตเสด็จกลับไปปารีส ในที่สุด พระเจ้าหลุยส์ที่ก็ตกลงพระทัยเสด็จกลับ
          ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กษัตริย์ ราชตระกูลและข้าราชบริพารก็ออกจากพระราชวังแวร์ซาย ไม่เคยกลับมาสู่พระราชวังที่งดงามเลย  การออกไปของราชตระกูลเหล่านั้นได้ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอำนาจและการปฏิรูปอย่างทั่วถึงกำลังจะเกิดขึ้นแก่ฝรั่งเศสในทันทีทันใด

 
การก่อจลาจลคุกบัสตีย์
1.  ผู้นำฝูงชนคนหนึ่งแสดงกุญแจไปสู่คุกบัสตีย์ ด้วยชัยชนะ
2.  แม้ผู้พิชิตคุกบัสตีย์ จะมีความต้องการแค่ดินปืนกับปืนไฟ แต่ก็เอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ค้นพบ
3.  ชายคนลากธงมหาราชมาไว้ข้างหลังของตัวเอง

 
การโจมตีคุกบัสตีย์
การโจมตีคุกบัสตีย์ กล่าวกันว่ามีประชาชนประมาณกว่า 100 ชีวิต